กิจกรรมของคณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สภาการหนังสือพิมพ์ สมัยที่ 9

เสวนาถอดบทเรียน “จากกรณีเมจิกสกินถึงการบุกตลาดดอนเมือง สื่อทำหน้าที่อย่างไร และผู้บริโภคได้อะไร”

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จัดเสวนาถอดบทเรียน “จากกรณีเมจิกสกินถึงการบุกตลาดดอนเมือง สื่อทำหน้าที่อย่างไร และผู้บริโภคได้อะไร” ณ อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นกรณีศึกษาบทบาทการทำงานของสื่อมวลชนและการเฝ้าระวังสำหรับผู้บริโภคในอนาคต

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/3817

การเสวนาวิชาการ “ถอดบทเรียนการทำข่าวถ้ำหลวง

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดงานเสวนาการถอดบทเรียนการทำข่าวถ้ำหลวง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อถอดบทเรียนจากกรณีการขำข่าวถ้ำหลวง

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/3937

ประชุมหารือพหุภาคี “แนวทางการนำเสนอข่าวที่อาจส่งผลกระทบ ต่อความปลอดภัยและสิทธิมนุษยชนของแหล่งข่าว”

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ Media Fun Facts จัดประชุมหารือพหุภาคี เรื่อง แนวทางการนำเสนอข่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสิทธิมนุษยชนของแหล่งข่าว โดยมีผู้แทนจากภาคประชาสังคม กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ตำรวจ แพทยสภา และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมหารือจากหลายฝ่ายเพื่อระดมความคิดหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถประมวลเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย 7 ข้อดังนี้

  1. สร้างบรรทัดฐานกลางด้านการนำเสนอข่าวประเด็นอ่อนไหว
  2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแผนปฏิบัติการด้านสื่อมวลชนที่ชัดเจน
  3. เสริมความรู้ความเข้าใจคนข่าวภาคสนาม เพิ่มการคัดกรองในประเด็นอ่อนไหว
  4. แก้ปัญหาระดับกองบรรณาธิการด้วย PLC
  5. กำกับดูแลระดับองค์กรด้วยแรงเสริมทั้งด้านบวกและด้านลบ
  6. ส่งเสริมการรู้เท่าทันด้านการใช้สื่อ ยกระดับผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์
  7. ผลักดันการรับรองสิทธิที่จะถูกลืม

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พร้อมภาคีร่วม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” โดยมีการจัด 4 ครั้งที่ จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดเพชรบุรี, จังหวัดอุบลราชธานี และ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทำปฏิญาณร่วมกันในการเป็นพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอม

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562 คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อฯ, กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, Change Fusion, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) และเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” โดยมีสื่อท้องถิ่นจากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้มาร่วมแลกเปลี่ยน  ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการรับมือกับข่าวลวงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะทำให้เกิดความเสียหายตั้งแต่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เสียทรัพย์สินเงิน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4950

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2562 คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สถาบัน Change Fusion และ สมาคมสื่อมวลชนเพชรบุรี จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สื่อท้องถิ่นกับการรับมือข่าวลวงและด้านมืดยุคดิจิทัล” ภายใต้ โครงการพัฒนากลไกการแก้ปัญหาข่าวลวงเพื่อสุขภาวะสังคมยุคดิจิทัล และร่วมประกาศ “ปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอมภาคตะวันตก” หวังสร้างความตระหนักรู้ และสร้างบรรทัดฐานในการผลิตและนำเสนอข่าวและข่าวออนไลน์ที่ถูกต้องมีคุณภาพให้กับสื่อมวลชนท้องถิ่น เพื่อต้านข่าวลวง (Fake News) ที่กำลังเป็นกระแสและสร้างความเสียหายในสังคมไทย ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2562 ณ โรงแรมรอยัล ไดมอนด์ จ.เพชรบุรี

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4969

เมื่อวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2562 คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิสื่อสร้างสุขอุบลราชธานี, สถาบัน Change Fusion, Center for Humanitarian Dialogue และ Friedrich Naumann Foundation จัดเวทีกระจายความรู้พร้อมวิธีรับมือกับข่าวลวง ข่าวด้านมืด ด้วยความเข้มแข็งของท้องถิ่นในการรับมือข่าวลวงและด้านมืดของออนไลน์ ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/5097

เมื่อวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2562 คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สถาบัน Change Fusion, Center for Humanitarian Dialogue และ Friedrich Naumann Foundation และมูลนิธิสื่อประชาธรรม จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ความเข้มแข็งภาคพลเมืองในการรับมือข้อมูลลวงและด้านมืดออนไลน์” ณ โรงแรมศิลป์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสุขภาวะ ให้เข้าใจผลกระทบจากสื่อดิจิทัลแพลทฟอร์ม ที่กระทบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อนโยบายสาธารณะ รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และรวมตัวการขับเคลื่อนเพื่อตรวจสอบถ่วงดุล บทบาทของดิจิทัลแพลทฟอร์มให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น รวมถึงการระดมสมอง เชียงใหม่โมเดลกับการรับมือด้านมืดออนไลน์

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/5109

เสวนา “NBTC Public Forum : ย้ายคลื่น 700 MHz. ใครได้ใครเสีย และมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค”

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562  สำนักงาน กสทช. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา “NBTC Public Forum : ย้ายคลื่น 700 MHz. ใครได้ใครเสีย และมีผลกระทบอย่างไรต่อผู้บริโภค” โดยมีตัวแทนจากภาควิชาการ ผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ ภาคประชาชน ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ณ สำนักงาน กสทช. ในเวทีทักท้วงขอให้ กสทช .ทำแผนแม่บท 5G ให้ชัดเจนก่อนเปิดประมูลคลื่น 700 MHz. โดยไม่ควรอยู่ในช่วง กสทช. รักษาการ พร้อมเสนอแยกเรื่องการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิตัล นายฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขา กสทช. ยืนยันว่ายังมีเวลาพิจารณาเพราะอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็น

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4412

Media Forum ครั้งที่ 1 – 12

Media Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง “วิชาชีพสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลก้าวกระโดด:โอกาสและความท้าทาย”

คณะทำงานผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , Center for Humanitarian Dialogue ,โครงการ Media Fun Facts และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง “วิชาชีพสื่อมวลชนในยุคดิจิทัลก้าวกระโดด:โอกาสและความท้าทาย” ในวันที่ 8 สิงหาคม 2561 เวลา 13.00-17.00 น. ที่ Nexdots Co-working Space, I’m Park สามย่าน

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/3979

Media Forum ครั้งที่ 2 เรื่อง วิชาชีพสื่อมวลชน(ท้องถิ่น) ในยุคดิจิทัลก้าวกระโดด “โอกาสและความท้าทาย”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ , Center for Humanitarian Dialogue,โครงการ Media Fun Facts กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และมูลนิธิขอนแก่นทศวรรษหน้า ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 2 เรื่อง วิชาชีพสื่อมวลชน(ท้องถิ่น) ในยุคดิจิทัลก้าวกระโดด “โอกาสและความท้าทาย” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 เวลา 10.00 -15.00 น.ที่ Jump Space อ.เมือง จ.ขอนแก่น

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4018

Media Forum ครั้งที่ 3 เรื่อง “สิทธิพลเมืองดิจิทัล : อำนาจสื่อในมือใคร”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, Center for Humanitarian Dialogue, วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, โครงการ Media Fun Facts และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 3 เรื่อง “สิทธิพลเมืองดิจิทัล : อำนาจสื่อในมือใคร” เมื่อวันที่ 7  กันยายน 2561 เวลา 13.00-17.00  น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4047

Media Forum ครั้งที่ 4 เรื่อง “การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อมวลชนโดยภาคสังคมเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระ และคุณภาพเชิงวารสารศาสตร์”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และกองทุนพัฒนาสื่อเพื่อสังคม ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 4 เรื่อง “การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อมวลชนโดยภาคสังคมเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระ และคุณภาพเชิงวารสารศาสตร์” ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.00-16.00 น.ที่ NAPLAB 759 โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งกองทุนเพื่อหาวิธีทำอย่างไรให้สื่ออยู่รอดอย่างเข้มแข็ง อย่ายั่งยืน และมีคุณภาพ

Media Forum ครั้งที่ 5 เรื่อง อนาคตสื่อท้องถิ่นในยุคเทคโนโลยีก้าวกระโดด และช่วงการเมืองเปลี่ยนผ่าน

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (STMA) และ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 5 เรื่อง อนาคตสื่อท้องถิ่นในยุคเทคโนโลยีก้าวกระโดด และช่วงการเมืองเปลี่ยนผ่าน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 เวลา 13.00 – 17.00 น ที่ สยามนครินทร์คอมเพล็กซ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

Media Forum ครั้งที่ 6 เรื่อง “บทบาทสื่อและการรับมือสงครามด้านข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และ Center for Humanitarian Dialogue ร่วมจัดงาน Media Forum ครั้งที่ 6 เรื่อง “บทบาทสื่อและการรับมือสงครามด้านข้อมูลข่าวสารช่วงการเลือกตั้ง” ในวันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2561 เวลา 09:30 – 12:30 น. ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เนื่องจากสถานการณ์ข่าวสารก่อนถึงการเลือกตั้งจะมีมากท่วมท้นในช่องทางต่าง ๆ  ทั้งสื่อกระแสหลัก สื่อใหม่ สื่อออนไลน์ (ทั้งแบบเปิดเช่นทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ก และแบบปิด เช่น ไลน์) เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในยุคที่โลกของสื่อใหม่และสื่อออนไลน์มีมากเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4218

 Media Forum ครั้งที่ 7 “เหยื่อข่าวออนไลน์ กับสิทธิที่จะถูกลืม”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ Center for Humanitarian Dialogue ร่วมจัดงาน Media Forum ครั้งที่ 7 เรื่อง “เหยื่อข่าวออนไลน์ กับสิทธิที่จะถูกลืม” ในวันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม 2562 เวลา 13:00 – 16:30 น. ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ทุกวันนี้มีข้อมูลที่ถูกปล่อยออกมาอย่างผิดพลาด ชื่อจริงที่ไม่ควรปล่อย ที่อยู่ของเหยื่ออาชญากรรม ซึ่งสร้างความเสียหายร้ายแรง ฉะนั้น สื่อหลักต้องเป็นผู้นำในการกรองข้อมูล หรือหากพลาดไปแล้ว ก็ต้องนำข้อมูลตรงนี้ออก โดยการร่วมมือกันลบข้อมูลเหล่านี้ออกจากพื้นที่สาธารณะ หรือทำให้เข้าถึงยากขึ้น

Media Forum ครั้งที่ 8 “เส้นแบ่งข่าวสารสาระ และโฆษณาในยุคดิจิทัล : การพัฒนาหลักสูตรการตลาดโฆษณา”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, Center for Humanitarian Dialogue, สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 ที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ส่งผลต่อความอยู่รอดทางธุรกิจของสื่อกระแสหลัก อีกทั้งคนนำเสนอข่าวสารและผู้รับสารสามารถอยู่ในตัวคน ๆ เดียวได้ ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชนกระแสหลักเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ดังนั้น โฆษณาซึ่งต้องใช้ช่องทางสื่อเพื่อสื่อสารก็ต้องปรับตัวตามไปด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือเส้นแบ่งระหว่างข่าวกับโฆษณาเริ่มไม่ชัดเจนทำให้ผู้บริโภคอาจเกิดความสับสน รวมทั้งการแฝงโฆษณาในเนื้อหารายการรูปแบบต่าง ๆ แม้ว่าจะมีองค์กรวิชาชีพซึ่งมีกติกากำกับการทำงานอยู่ แต่มีข้อจำกัดคือกลุ่มที่ไม่สังกัดสมาคม ฯ ทำให้ไม่สามารถตามไปกำกับดูแลได้

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4522

Media Forum ครั้งที่ 9 “ถอดบทเรียนปัญหาข่าวลวงในประเทศไทย กับทางออกเชิงสร้างสรรค์”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, Friedrich Naumann Foundation, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, และ Centre for Humanitarian Dialogue จัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 9 เรื่อง “ถอดบทเรียนปัญหาข่าวลวงในประเทศไทย กับทางออกเชิงสร้างสรรค์” เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

โดยครั้งนี้ เป็นการจัดเสวนาถอดบทเรียนเฟคนิวส์ มีนักวิชาการแนะนำให้ระดมทุกภาคส่วนร่วมตรวจสอบสกัดข่าวปลอม ป้องกันรัฐเข้ามาควบคุม ห่วงว่าจะกลายเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง กระตุ้นนักข่าวทำหน้าที่ Gate Keeper ตรวจสอบข้อมูลก่อนเผยแพร่ มูลนิธิผู้บริโภคเสนอเปิดพื้นที่ให้ชาวบ้านได้เช็คข้อเท็จจริง

Media Forum ครั้งที่ 10 “จริยธรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อลดการผลิตซ้ำความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม”

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ Center for Humanitarian Dialogue (HD) ร่วมจัดเสวนา Media Forum ครั้งที่ 10 “จริยธรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อลดการผลิตซ้ำความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม” เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

เนื่องจาก สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ออกแนวปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อวางกรอบการทำงาน พร้อมจัดเสวนาลดการผลิตซ้ำความรุนแรงในสื่อออนไลน์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา ความเร่งรีบ และหวังรายได้ผ่านยอดวิว แนะสร้างความเข้าใจของสังคมร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง

Media Forum ครั้งที่ 11 “เสรีภาพบนความรับผิดชอบยุคโควิด19 สื่อไทยยืนอยู่จุดไหนในสายตาประชาชน”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และCenter for Humanitarian Dialogue (HD) ร่วมกันจัดเวทีเสวนาออนไลน์ Media Forum ครั้งที่ 11 ในประเด็น“เสรีภาพบนความรับผิดชอบยุคโควิด19 สื่อไทยยืนอยู่จุดไหนในสายตาประชาชน” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เวทีสาธารณะครั้งนี้ ต้องการรับฟังเสียงภาคประชาชน ที่มีต่อการทำหน้าที่ของสื่อในช่วงโรคระบาดโควิดที่ผ่านมา ทั้งในมิติ เสรีภาพ และ ความรับผิดชอบ ว่าสื่อไทยยืนอยู่ในจุดไหน มากไปน้อยไปอย่างไร รวมทั้งหาข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาองค์กรสื่อทุกรูปแบบให้ทำหน้าที่อย่างมีเสรีภาพบนความรับผิดชอบมากขึ้นในสภาวะที่สังคมไทยและทั่วโลกกำลังเผชิญจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ อันนำไปสู่วิถีชีวิตใหม่ และ ข้อจำกัดทางด้านการเมือง ความถดถอยทางเศรษฐกิจ และ ปัญหาสังคมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในทุกมิติ ทั้งความยากจน การว่างงาน อาชญากรรม และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://blog.cofact.org/press-newnormal/

Media Forum ครั้งที่ 12 “ข่าว ไม่ใช่ละคร | เส้นแบ่งอาชญากรรมเสมือนจริง”

คณะทำงานคุ้มครองผู้บริโภค สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, Centre for Humanitarian Dialogue (HD) และ Cofact ร่วมกันจัดงานเสวนาออนไลน์ Media Forum ครั้งที่ 12 เรื่อง “ข่าว ไม่ใช่ละคร | เส้นแบ่งอาชญากรรมเสมือนจริง”

นักจิตวิทยาสังคม – นักวิชาการ ห่วงการเสนอข่าวเป็นละคร  ผลวิจัยบอกชัดเจนว่าเสี่ยงชี้นำให้เกิดการเลียนแบบ และทำให้ความก้าวร้าวรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เรียกร้องให้คนถูกละเมิดฟ้องสื่อให้เป็นตัวอย่าง รวมทั้งเรียกร้องให้เอเจนซี่ไม่ซื้อโฆษณา

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/5468

คณะทำงานฯ ร่วมเป็นภาคีจัดงาน

International Conference on Fake News

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ Friedrich Naumann Foundation for Freedom (FNF) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ม.ธรรมศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) จัดงาน International Conference on Fake News ขึ้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562 โดยมีนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เป็นผู้แทน คณะทำงานฯ ไปร่วมงานในนามสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พร้อมลงนามประกาศปฏิญญารวมพลังขับเคลื่อนต่อต้านข่าวลวงข่าวปลอม ถ้าจะมีความต่อควรเป็นภาพรวมของงาน ไม่ใช่ใครพูดอะไร

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ได้สรุปภาพรวมสถานการณ์และการรับมือข่าวลวงข่าวปลอมจากหลากมุมมองบนเวที ถึงแนวทางการรับมือว่าต้องเป็นไปอย่างร่วมมือ ไม่สามารถให้เพียงภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งรับผิดชอบได้ และได้นำเสนอสถิติ ว่ามีคนไทยจำนวนกว่า 50 เปอร์เซนต์ เชื่อข้อมูลและเนื้อหาบนโลกออนไลน์ในทันที รวมถึงแลกเปลี่ยนถึงแนวคิดถึงการป้องกันการแพร่กระจายของข่าวลวงข่าวปลอม ทำได้โดยการสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบข้อมูลก่อนส่งต่อ นอกจากนี้คุณสุภิญญาได้ตั้งข้อสังเกตถึงการแพร่กระจายของข่าวลวงข่าวปลอม ว่าอาจเกิดจากการส่งต่อเนื้อหา ข้อมูลที่ถูกใจ แม้จะรับรู้อยู่บ้างว่าอาจไม่ใช่ข่าวจริง

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม >>> https://www.presscouncil.or.th/archives/4786