เชิญส่งผลงานบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชิงรางวัลเกียรติคุณ ประจำปี 2558

เชิญส่งผลงานบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชิงรางวัลเกียรติคุณ ประจำปี 2558

เนื่องด้วยคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ชุดที่ 8 ได้มีมติให้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือก บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดีเด่นประจำปี 2558 เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่หนังสือพิมพ์ที่มีผลงานดีเด่น ด้านการเขียนบทบรรณาธิการ ในโอกาสครบรอบปีที่ 19 แห่งการสถาปนาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2559

ในการนี้ คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  จึงขอเชิญหนังสือพิมพ์ที่เป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ตลอดจนหนังสือพิมพ์ฝึกหัดระดับมหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน  จัดส่งผลงานด้านบทบรรณาธิการ  เพื่อเข้าร่วมพิจารณาชิงรางวัลประกาศเกียรติคุณ  บทบรรณาธิการดีเด่นประจำปี 2558 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559

 

 

ประกาศ  สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

เรื่อง  การพิจารณาคัดเลือกบทบรรณาธิการ หรือ บทนำ ดีเด่น ประจำปี 2558

 

หลักการและเหตุผล

เนื่องในวาระครบรอบปีที่ 19 แห่งการสถาปนาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสมาชิกที่เป็นองค์กรหนังสือพิมพ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งเสริมและสนับสนุนให้หนังสือพิมพ์ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีอุดมคติในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ตามกรอบการส่งเสริมจริยธรรมสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจึงเห็นสมควรให้มีการพิจารณาคัดเลือกบทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น ประจำปี 2558 ขึ้น โดยครอบคลุมทั้งหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค  และหนังสือพิมพ์ฝึกหัดระดับมหาวิทยาลัย จากสถาบันที่มีการเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ ทั้งนี้ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ภารกิจหลักอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ คือ  “การเป็นสื่อกลางด้านข้อมูลข่าวสาร และการรายงานความเคลื่อนไหวของสังคม เพื่อการแสวงหา การนำเสนอ และการชี้แนะความรู้ให้แก่มหาชนผู้มีสิทธิการรับรู้ ประการหนึ่ง และการบำเพ็ญอุทิศเวลาและพื้นที่เพื่อสนับสนุนความเป็นตลาดเสรีแห่งการแลกเปลี่ยนความคิดของมหาชน ตามแนวทางประชาธิปไตยอีกประการหนึ่ง”

ดังนั้น ภายใต้หลักอาชีวปฏิญาณทางวิชาชีพหนังสือพิมพ์ การแสดงความคิดเห็นทางบทบรรณาธิการ หรือ บทนำ ถือเป็นคอลัมน์ที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็น “ธงชัย” ทางความคิดที่สะท้อนถึง “จุดยืน” ของกองบรรณาธิการ และของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับต่อประเด็นปัญหาในสังคม ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปประกอบการพิจารณากำหนดทิศทางการแก้ปัญหาและ/หรือ กำหนดนโยบายที่พึงประสงค์ต่อสังคมโดยรวม  เนื่องจากเป็นข้อเขียนที่ได้ผ่านการกลั่นกรองอย่างดีแล้วจากกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ การพิจารณาคัดเลือกบทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น จึงเป็นความพยายามของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ในการกระตุ้นเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการเขียน และการนำเสนอความคิดเห็นของหนังสือพิมพ์มีคุณภาพ สมกับคุณค่าแห่งมาตรฐานวิชาชีพหนังสือพิมพ์ที่ดียิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อกระตุ้นให้กองบรรณาธิการตระหนักถึงความสำคัญของบทบรรณาธิการ (บทนำ) ตามมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อมวลชน
  2. เพื่อส่งเสริมให้มีการเขียนบทบรรณาธิการ (บทนำ) ที่สามารถชี้ทางออกให้สังคมได้อย่างมีคุณภาพ
  3. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์ในฐานะสื่อข่าวสารที่ดี

 

ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน

คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและส่งเสริมวิชาชีพ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

 

ประเภทรางวัล

รางวัล บทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 หนังสือพิมพ์ส่วนกลาง 2 รางวัล

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

ประเภทที่ 2 หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค 2 รางวัล

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้รับเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

ประเภทที่ 3 หนังสือพิมพ์ฝึกหัดระดับมหาวิทยาลัย 2 รางวัล

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้รับเงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

–  บทบรรณาธิการ (บทนำ) ชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การตัดสินบทบรรณาธิการดีเด่น               

  1. เป็นบทบรรณาธิการ (บทนำ) สะท้อนปัญหาสังคม มีความกล้าหาญในการนำเสนอ สามารถชี้แนวทางเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้
  2. เป็นบทบรรณาธิการ (บทนำ) ที่นำเสนอข้อมูล/ข้อเท็จจริงอย่างสร้างสรรค์ สะท้อนจุดยืนของหนังสือพิมพ์อย่างชัดเจน
  3. เป็นบทบรรณาธิการ (บทนำ) ที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ มีเหตุ มีผล ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล

  1. คณะกรรมการตัดสินแบ่งเป็น 2 คณะ ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง และ คณะกรรมการตัดสิน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาชีพ และวิชาการด้านหนังสือพิมพ์ โดยใช้ หลักเกณฑ์การตัดสินเป็นสำคัญยิ่ง
  2. ในกรณีที่ไม่มีบทบรรณาธิการ เข้ามาตรฐานดีเด่น คณะกรรมการตัดสินฯ อาจพิจารณาใช้ดุลยพินิจในการให้ได้รับรางวัลประเภทหรือระดับได้ตามความเหมาะสม หรืออาจไม่ให้รางวัลเลยก็ได้
  3. ข้อวินิจฉัยและผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
  4. โดยมีพิธีมอบรางวัลเกียรติคุณ บทบรรณาธิการดีเด่น ประจำปี 2558 ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2559

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด

  1. ให้หนังสือพิมพ์ต้นสังกัดพิจารณาคัดเลือกส่งบทบรรณาธิการ (บทนำ) ตัวจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ฉบับวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2558 จำนวนไม่เกิน 5 บทนำ พร้อมถ่ายสำเนาจำนวน 5 ชุด โดย เขียนเหตุและผล ของ บทบรรณาธิการ (บทนำ) แต่ละบทนำที่ส่งเข้าประกวด
  2. บทบรรณาธิการ (บทนำ) ที่ส่งเข้าประกวด เป็นกรรมสิทธิ์ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  3. ส่งบทบรรณาธิการ (บทนำ) เข้าประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ที่สำนักเลขาธิการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ  เลขที่ 538/1 ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร.02-668-9900

 

ประกาศ ณ วันที่ 25 เมษายน 2559

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

รางวัลบรรณษธิการ