แกนนำองค์กรวิชาชีพสื่อตั้ งวงถกสื่อมวลชนอาวุ โสกำหนดแนวทางเคลื่อนไหวคัดค้ านกฎหมายควบคุมสื่อของ สปท. ยืนยันไม่รับร่างกฎหมายที่ให้มี องค์กรใช้อำนาจรัฐลงโทษสื่อ พร้อมยืนยันหลักการกำกับดูแลกั นเองของสื่อ เตรียมจัดสมัชชาสื่อมวลชนทั่ วประเทศกำหนดทิศทางการปฏิรูปสื่ อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รั ฐธรรมนูญใหม่
วันนี้ (๒๐ ก.พ.) นายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทั ศน์ไทยในฐานะประธานคณะทำงานสื่ อเพื่อการปฏิรูป เปิดเผยภายหลังการประชุ มแกนนำองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนร่ วมกับสื่อมวลชนอาวุโสว่า ตามที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรู ปประเทศ (สปท.) โดยคณะกรรมาธิการขับเคลื่ อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่ อสารมวลชนฯ ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญั ติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิ ชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ ทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิ ชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …………… โดยคณะกรรมการประสานงานกิ จการสภาขับเคลื่อนการปฏิรู ปประเทศได้ขอให้คณะกรรมาธิ การกลับไปทบทวนร่างกฎหมายดังกล่ าวนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ขอยืนยันว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิ ชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ….. ที่คณะกรรมาธิการพิ จารณาพยายามจะทบทวนแก้ไขนั้น มิได้อยู่บนพื้นฐานหลั กการของการคุ้มครองสิทธิเสรี ภาพของผู้ประกอบวิชาชีพสื่ อมวลชน โดยยังเปิดโอกาสให้มีการใช้ อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้ าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน และไม่สอดคล้องกับหลักการของร่ างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่ อมวลชนกำกับดูแลกันเองโดยอิ สระและปราศจากการแทรกแซงจากภาครั ฐ
นายเทพชัย กล่าวอีกว่า ที่ประชุมมีมติยืนยันไม่เห็นด้ วยกับการออกกฎหมายให้อำนาจองค์ กรใดองค์กรหนึ่งมาลงโทษสื่ อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นโทษทางอาญาหรื อโทษทางปกครอง เพราะเท่ากับเป็นการเปิดช่องให้ อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้ าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งเท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิ การรับรู้ข้อมูลข่ าวสารของประชาชน พร้อมทั้งยืนยันหลักการการกำกั บดูแลกันเองของสื่อมวลชน โดยในปัจจุบันได้มีปรับปรุ งกลไกการควบคุมกันเองให้มีประสิ ทธิภาพตลอดเวลาอยู่แล้ว และได้มีกระบวนการในการเปิ ดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่ วนร่วมในการตรวจสอบการทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนผ่านองค์กรวิชาชี พมากขึ้น ขณะเดียวกัน มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำกั บควบคุมการทำหน้าที่ของสื่ อมวลชนอยู่ไม่น้อยกว่า ๓๐ ฉบับ
“ความพยายามในการออกกฎหมายควบคุ มสื่อมวลชนภายใต้บรรยากาศที่ยั งไม่เป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่สามารถนำไปสู่ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ได้ เราจึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องยุติการออกกฎหมายจำกั ดเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่ อมวลชน” นายเทพชัยกล่าว
ประธานคณะทำงานสื่อเพื่อการปฏิรู ปกล่าวด้วยว่า องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน มติร่วมกันให้มีการจัดการประชุ มสมัชชาสื่อมวลชนแห่งชาติเพื่ อกำหนดท่าทีของผู้ประกอบวิชาชี พสื่อมวลชนทั่วประเทศในเรื่ องการปฏิรูปสื่อและยืนยันหลั กการกำกับดูแลกันเองให้มีประสิ ทธิภาพมากขึ้นตามเจตนารมณ์ของรั ฐธรรมนูญฉบับใหม่