“กมธ.ยกร่าง รธน.” ย้ำมีความจำเป็นควบคุม earmarked tax เหตุมีมากเกินไปจะกระทบวินัยการเงินการคลังของประเทศ แต่คงมีการทบทวน สสส. ชี้ควรกำหนดเป็น พ.ร.บ.เพื่อให้เกิดความยึดหยุ่น เหตุมีกองทุนเพื่อสุขภาพติดบัญชีด้วย “ทีดีอาร์ไอ” ระบุต้องเป็นงานอิสระอย่างแท้จริง ตั้งได้ยากผ่านรัฐสภาต้อง 3 ใน 5 เพื่อเป็นหลักประกันความต้องการของสังคมส่วนใหญ่ ชี้ไม่ควรตัด สสส.และไทยพีบีเอส คุมเฉพาะที่จะเกิดใหม่เท่านั้น เหตุท่ีผ่านมาไม่มีข้อบกพร่อง
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดเสวนาราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “ภาษีบาป ผลกระทบ สสส.ไทยพีบีเอส?” โดยนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินการเสวนา โดย นางสาววิไล ตันตินันท์ธนา ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ภาษีสรรพสามิต กล่าวว่า การเก็บภาษีสุราและบุหรี่เป็นภาษีทางอ้อม เพราะผลักภาระไปที่ผู้บริโภคทั้งหมด มีการเรียกว่าภาษีบาป เพราะมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดีของสังคม รัฐต้องมีต้นทุนทางสังคมในการจัดเก็บ เพื่อนำไปบรรเทาสังคมด้านอื่นๆ ผู้ประกอบการโรงงานยาสูบในไทยมีเพียงโรงเดียว ส่วนการนำเข้าก็เก็บภาษีตามราคานำเข้าและปริมาณสำหรับบุหรี่ 87 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันก็มีการจ่ายภาษีตรงนี้ไปที่ไทยบีพีเอส สสส.และกองทุนเพื่อการพัฒนากีฬาแห่งชาติในอนาคต
นายจรัส สุวรรณมาลา คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เดิม กมธ.ยกร่างตั้งใจจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องการจัดเก็บค่าภาษีและธรรมเนียมเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะหรือ earmarked tax แต่ก็ทำได้น้อย เพราะมีแต่การจัดทำเฉพาะเวทีของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงขอขอบคุณสมาคมนักข่าวฯที่ได้จัดเวทีเสวนานี้ขึ้นมา รัฐธรรมนูญ 2550 ได้ระบุไว้ให้รัฐบาลออกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีต่างๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ยอมออก เพราะทำให้รัฐบาลดำเนินนโยบาย โดยเฉพาะอย่างย่ิงนโยบายด้านประชานิยมยากขึ้น ออกมาแล้วก็เป็นกระพวนผูกคอแมว จีงทำตัวเป็นแมวขโมยมาตลอด
นายจรัสกล่าวว่า เราจึงหวังให้ทุกรัฐบาลมีวินัยทางการเงินการคลัง เพราะไม่อยากให้เป็นประเทศที่ล้มละลายเหมือนนประเทศอเมริกาใต้ และความจริงประเทศที่เราเห็นว่ามีความมั่งคั่งทั้งญี่ปุ่นและยุโรปหรือสหรัฐก็ประสบปัญหาการล้มลายทางการเงินการคลังไปหมดแล้ว เราอยากให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพการใช้จ่ายเงิน มีกติกาที่มีธรรมาภิบาลในการเงินกละการคลัง รัฐบาลจะไปลดหย่อยภาษีในกลางปี เช่น การลดหย่อนภาษีเรื่องรถคันแรก หรือนำไปจ่ายหนี้ให้รัฐบาล เช่น เรื่องจำนำข้าวไม่ได้อีกต่อไป
กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ตามหลักการภาษีที่ทางการคลังถือคือภภาษีทั่วไปที่มีการเก็บคนทั่วไป เข้าไปสู่ระบบรายได้แผ่นดิน ใครต้องการใช้ ก็ทำผ่านกระบวนการงบประมาณ และอีกภาษีคือระบบเฉพาะมีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าทำไปอะไร มีหน้าตาหลายแบบให้รัฐบาลจัดเก็บเพิ่มขึ้นไปจากฐานเดิม จัดเก็บจากคนกลุ่มหนึ่งมาให้คนทั้งระบบและผู้เสียภาษีต้องได้ประโยชน์โดยตรง เช่น การเก็บภาษีสรรพสามิตให้ท้องถิ่น เป็นต้น
กมธ.ยกร่างฯกล่าวว่า ลักษณะของ สสส.เป็นลักษณะของการจัดเก็บภาษีบาปได้ดีมาก เพราะเก็บมาแล้วก็นำไปรณรงค์เพื่อป้องกันสุขภาพ แต่ของไทยพีบีเอสยังไม่มีความชัดเจน เพราะที่จริงต้องนำรายได้ที่ได้จากการผลิตรายการนำมาเป็นรายได้ เพราะเป็นรายได้ที่เกี่ยวที่เกิดจากไทยพีบีเอสโดยตรง ยิ่งไปที่กองทุนเพื่อการพัฒนากีฬาแห่งชาติ ก็ยิ่งห่างไกลไปใหญ่ เพราะหลักการเราจะไม่เก็บภาษีเฉพาะไปให้กลุ่มอื่นๆ การเก็บภาษีนี้ต้องเชื่อมโยงไปที่ผู้เสียภาษี เพราะมีแรงจูงใจกับผู้เสียภาษี ถ้าจะเพิ่มช่องทางการเสียภาษี การเสียภาษีในลักษณะนี้คนจะยอมรับมากกว่า เพราะคนเห็นว่าเก็บไปเพื่ออะไร
“รัฐต้องหาช่องทางในการจัดเก็บเพื่อการนั้นเป็นการเฉพาะ ที่รัฐจำเป็นต้องให้ความเป็นอิสระกับองค์กรรนั้นๆ รัฐต้องการันตีจำนวนเงินที่แน่นอนให้ และขณะนี้องค์กรลักษณะนี้ไม่ได้มีแค่ไทยพีบีเอสเพียงแห่งเดียว แต่มีร้อยแห่งในประเทศไทย” นายจรัสกล่าว
นายจรัสกล่าวว่า การเพิ่มภาษีเพื่อนำไปใช้ได้เลย ทำให้องค์กรเหล่านี้ไม่ต้องทำอะไรเลยก็ได้เงินไปใ้ช้ไม่ต้องผ่านวิธีการงบประมาณ ในสหรัฐกลายเป็นช่องทางของงบฯส.ส.เพื่อทำนโยบายประชานิยม เป็นการสร้างกระเป๋าย่อยๆ ให้ตัวเอง ไม่มีใครไปยุ่งได้ และยังสามารถปกป้องต้วเองได้อีกด้วย และในอนาคตจะมีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลต้องการเก็บเพิ่มภาษี เพื่อนำไปใช้กิจการอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะเพดานของภาษีลักษณะนี้ชนเพดานไปแล้ว จึงเห็นว่าควรหยุดภาษี emermart tex ในลักษณะนี้ได้แล้ว ในสหรัฐฯเมื่อไม่สามารถหยุดได้ ก็ใช้วิธีการหยุดที่จำนวนที่ให้ ไว้ ไม่มีวันได้เพิ่มอีกต่อไป และรัฐบาลบารัค โอบามา เคยหาเสียงว่าจะยกเลิกแต่ก็ไม่สามารถยกเลิกได้
“ถ้าเราไม่หยุดก็หยุดอะไรไม่ได้ แต่เมื่อหยุดก็ไปกระทบกับสององค์กรนี้คือ สสส.และไทยพีบีเอส ที่เราไม่ได้เป็นผู้ร้าย ถ้าไม่ได้เงินจากระบบนี้ ก็ต้องให้เงินผ่านกระบวนการงบประมาณ แต่มีคนเป็นห่วงว่าจะมีการล้วงลูก” นายจรัสกล่าว
นายจรัสกล่าวว่า ความจริงองค์กรอิสระทั้งหลายในไทยต่างห่างที่ไม่มีความอิสระ เพราะควรได้เงินสนับสนุนในลักษณะเดียวกันกับ สสส.และไทยบีพีเอส ในอนาคตเราก็ควรมีภาษีเฉพาะด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา สาธารณสุข เราไม่ได้มีปัญหากับไทยบีพีเอสและ สสส. แแต่เรามีปัญหากับแนวโน้มในการใช้ภาษีลักษณะนี้ในอนาคต และขอให้ติดตามความคืบหน้าภายในวันที่ 11 สิงหาคมนี้จะมีความชัดเจนในเรื่องนี้
ด้านนายสมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เดิมคนร่างกฎหมายไทยบีพีเอสจะเก็บภาษีจากเครื่องรับโทรทัศน์จอแบน แต่ก็ไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน แและแนวโน้มก็มีการดูโทรทัศน์ผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ไอแพด สมาร์ทโฟน และขณะนั้นปี 2550 ยังไม่มี กสทช.เกิดขึ้น กรณีการใช้ภาษี 2000 ล้านบาทจากการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้ก็มีด้านดีและไม่ดี ข้อดีคือเกิดความรับผิดชอบโดยตรง เพราะคนรู้ว่้าได้เงินไปเท่าไหร่ แต่ข้อเสียก็คือไม่มีความยืดหยุ่น นำไปใช้อยางอื่นได้ แม้จะมีงบรวมกันสององค์เพียง 6 พันล้านบาทเท่านั้น หรือ 0.24 ของงบประมาณแผ่นดิน แต่ถ้ามีเป็นจำนวนมากก็ไม่เป็นผลดี
นายสมเกียรติกล่าวว่า เป็นเรื่องดี ที่ กมธ.ได้มองเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เห็นว่าควรใช้เงินแบบนี้กับหน่วยงานที่เป็นอิสระในการใช้เงิน เพราะเป็นสิ่งที่จะรับประกันความเป็นอิสระของหน่วยงานนั้นๆ หากไทยพีบีเอสต้องไปขอเงินจากสภาฯแล้วสภาฯไม่ให้ความป็นอิสระของไทยพีบีเอสก็จะสิ้นสุดลงในทันที
นายสมเกียรติกล่าวว่า กลุ่มภาษีเหล้าและสุราเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงในการล็อบบี้ทั่วโลก ถ้า สสส.ต้องไปของบฯจากรัฐบาลหรือสภา หากมีกลุ่มเหล้าและบุหรี่ไปล็อบบี้รัฐบาลและสภาฯจะเกิดอเะไรขึ้น นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการเกิดขึ้นของกองทุนเศรษฐกิจดิจิทัลมีการบริหารในระบบราชการ แต่กลับให้เป็นองค์กรอิสระ ทั้งๆ ที่ไปอยู่ในกระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล เช่นเดียวกันกับกองทุนเพื่อการกีฬาแห่งชาติที่มีการบริหารในระบบราชการ
นายสมเกียรติกล่าวด้วย ขอเสนอทางออกด้วยการเพิ่มข้อจำกัดในการใช้จ่ายเงินว่า ต้องเป็นองค์กรอิสระโดยแท้จริง กรณีจำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรอิสระ ห้ามมิให้เป็นหน่วยงานของราชการ การจัดตั้งหน่วยงานให้ใช้เกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือสามในห้าของรัฐสภา เพื่อสร้างประกันว่าการเกิดการองค์กรลักษณะนี้ต้องทำได้ยาก จะเกิดได้ก็ต้องจากความการของสังคมว่าต้องการให้เกิดขึ้นจริงๆ จำกัดเพดานในการใช้เงินและเพดานรายได้ตามเงินเฟ้อ และสุดท้ายระบบการตรวจสอบและประเมินผลที่สูงพอ อย่างน้อยไม่น้อยต่ำไปกว่าไทยพีบีเอส และ สสส.เพื่อรักษาวินัยทางการเงินการคลังและไม่ตัดโอกาสของประเทศในการใช้เงิน ขณะนี้เห็นว่าหน่วยงานเดิมขอให้คงไว้ เพราะที่ผ่านมาไม่เห็นความบกพร่อง ควรจะมีการจำกัดเฉพาะหน่วยงานที่เกิดขึ้นใหม่เท่านั้น และขณะนี้ยังไม่มีการตึกผลึก
ด้านทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัตช์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาษีสุราและบุหรี่เก็บเต็มเพดานไปแล้วเกือบ 87 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถจัดเก็บได้อีก หลายประเทศได้ประกาศลดจำนวนคนสูบบุหรี่ลงให้ได้ต่ำกว่าร้อยละ 10 ขณะที่ไทยมีร้อยละ 19 ในปี 2540 มีคนสูบร้อยละ 24 ซึ่งมีอัตราลดลงมาโดยตลอด แต่เก็บภาษีให้รัฐได้มากขึ้น เพราะภาษีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั่วโลกถูกแรงต้านอย่างมาก จากการประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ เพราะมีแรงต้านจากกลุ่มผู้ผลิต แม้จะได้เงินเพิ่มแต่ก็ไม่มีใครเชื่อ แต่ประเทศไทยเราเข้าสู่โมลเดลนี้ได้ คนไทยจะสูบการบุหรี่ลดลงได้เรื่อยๆ แต่โรงงานยาสูบยังคงสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศได้มากขึ้นจาก 5 พันล้านบาทเป็นหนึ่งหมื่นถึงสองหมื่นล้านบาท
ทันตแพทย์กฤษดากล่าวด้วยว่า โรงงานยาสูบยังอยู่ได้ไม่ขาดทุนหรือเจ๊งไป หากใช้โมเดลการจัดเก็บภาษีเพิ่มแบบนี้ การเขียนรัฐธรรมนูญไว้แบบนี้เป็นอันตรายเกินไป เพราะไม่ใช่มีเพียงสองงหน่วยงานนี้เท่าน้ัน เพราะยังมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น กองทุนสุขภาพ กองทุนสิ่งแวดล้อม และกองทุนน้ำ เป็นองค์กรที่มีลักษณะเดียวกันกับไทยพีเอสและ สสส. จึงควรทำเป็น พ.ร.บ.เฉพาะมากว่าการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทย(ไทยบีพีบีเอส) กล่าวว่า ไทยพีบีเอสได้ให้สัดส่วนในการรายงาข่าวสาธารณะมากว่าช่องอื่นๆ แต่ไม่ได้บอกว่าทำได้ดีกว่าช่องอื่นๆ แต่ก็มีบางอย่างที่ไทยพีบีเอสไม่สามารถดำเนินการบางอย่างได้เช่นเดียวกัน ในรัฐบาลเพื่อไทยเราก็ตั้งคำถามที่ประเด็นสาธารณะได้เช่น เรื่องข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หากรัฐเข้ามาควบคุมได้ ต่อไปไทยพีบีเอสก็ไม่อาจเปิดโอกาสให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไปออกรายได้ แต่ที่สามารถทำได้ ก็เพราะมีหลักประก้นเรื่องความเป็นอิสระ เราจะเป็นต้องมีสื่อสาธารณะเพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน
นายสมชัยกล่าวว่า หากไม่ได้เงินอุดหนุนแบบเดิม ก็มีข้อเสนอว่าหากคนไทยเสียภาษีให้ไทยพีบีเอสปี 50 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นเงินรับประทานได้ข้าวหนึ่งมื้อ เติมน้ำมันได้ไม่ถึงสองลิตร เราก็จะมีเงินเพื่อทำรายการได้ทั้งวันตลอดปี เพราะนอกจากรายการปกติที่โทรทัศน์ทั่วไวปไม่ไ้ดทำ เพราะไมมมีเริตต้เง แต่เราก็ต่องทำรายเพื่อคนส่วนน้อย เช่น พิการสายตา เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ให้ทำรายการเพื่อคนส่วนน้อยด้วย เราเป็นสื่อที่ไม่ได้ทำงานภายใต้การทำงานแบบตลาด ฉะนั้นจะมาวัดเราแบบโทรทัศน์ช่องอื่นๆ ไม่ได้ เราสามารถทำให้คนหายได้มาพบกันปีละสิบกว่าร้าย ถามกลับว่าคิดเป็นเงินได้หรือไม่ นำไปเปรียบเทียบกับเงินสองพันล้านบาทต่อปีไม่ได้