จดหมายข่าวประจำเดือนพ.ย – ธ.ค. 51

[wptab name=’จดหมายข่าวประจำเดือนพ.ย – ธ.ค. 51′]

จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่อยู่ในมือท่านฉบับนี้ เป็นฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2551 แต่ช่วงของการจัดเตรียมต้นฉบับก็ลุล่วงคาบเกี่ยวถึงวันเปลี่ยนศักราช

ปี 2551 ที่ผ่านไปถูกนิยามไว้หลายอย่าง ตามแต่น้ำหนักของผู้นิยาม ว่าวางน้ำหนักที่ด้านใด หากเป็นมุมเศรษฐกิจ ก็เห็นพ้องกันว่าเป็นปีแห่งวิกฤตเศรษฐกิจโลก หรือปีของความผันผวนของภาวะราคาสินค้า และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งมวล

ถ้า สนใจการเมืองก็สรุปว่า เป็นปีสุดยอดแห่งวิกฤตทางการเมือง เพราะปีเดียวไทยเปลี่ยนนายกฯถึง 3 คน ตลอด 1 ปีที่ผ่านไปงานบริหารราชการแผ่นดินแทบไม่ได้หยิบจับทำเรื่องอะไรที่จะเป็น การวางรากฐานให้กับสังคมประเทศชาติเลย มีแต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของกลุ่มของพวกเท่านั้น
มิติทางสังคมก็จะพบถึง การปะทะทางความคิดความเชื่อของคนไทยที่เห็นต่าง แตกเป็นสองขั้วสองฝ่าย และปฏิบัติต่ออีกฝ่ายประหนึ่งศัตรูคู่แค้น ปองร้ายกันกระทั่งถึงแก่ชีวิต

ใน ภาวะปั่นป่วน วงการสื่อก็เป็นอีกมุมที่ได้รับแรงกระทบกระแทกไม่น้อย สื่อถูกตั้งคำถามไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นกลาง ไปจนถึงเรื่องของความเป็นมืออาชีพ

แน่นอนว่าปฏิกิริยาส่วนหนึ่ง เกิดจากการตกอยู่ในภาวการณ์ต่อสู้ขัดแย้ง เมื่อสื่อรายงานเป็นประโยชน์กับฝ่ายตนก็นิยมยกย่อง เมื่อเป็นตรงข้ามก็ถูกต่อว่าไปถึงประณาม

การคุกคามสื่อเกิดในหลายรูปแบบ ซึ่งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ประมวลรวบรวมความเป็นไปไว้แล้ว พลิกอ่านได้ในเล่ม

แต่ กระนั้นเสียงวิจารณ์ก็ไม่พึงปล่อยให้ผ่านเลยไป หากแต่ต้องรับมาใคร่ครวญอย่างมีสติ ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้มอบหมายให้นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์-วารสารศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ประมวลรวบรวม แต่จะได้เกิดองค์ความรู้อย่างเป็นวิชาการ เพื่อจะได้ร่วมกันยกระดับพัฒนาวงวิชาชีพของเราต่อไป

ภารกิจนี้เป็นภารกิจที่ไม่สิ้นสุด

คณะผู้จัดทำ

[/wptab]

[wptab name=’ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2552 “หนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวต่อเนื่อง”’]

สัมภาษณ์พิเศษ

ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจปี 2552 “หนังสือพิมพ์ต้องปรับตัวต่อเนื่อง” 

พิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์
บรรณาธิการอำนวยการกลุ่มโพสต์พับลิสชิ่ง

ทริบูน คัมปะนี เป็นสื่อรายใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีธุรกิจสื่อในเครือถึง 8 ฉบับ เช่น ลอสแองเจอลิสไทม์ หรือ แอลเอ ไทม์ ชิคาร์โก้ทริบูน บัลติเมอร์ชั่น และสถานีโทรทัศน์อีกหลายแห่งที่อยู่ในความรับผิดชอบ เมื่อปลายปี 2551 ที่ผ่านมามีรายงานทางสำนักข่าวต่างประเทศ ระบุว่า ได้ยื่นขอล้มละลายแล้ว ด้วยเหตุผลว่าฐานะทางการเงินของบริษัทแม่เริ่มไม่มั่นคง และส่งผลกระทบกับธุรกิจสื่อในเครือ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะมีผลกระทบ อย่างไรต่อธุรกิจสื่อในประเทศไทย จะได้ฟังความคิดเห็นจากคุณพิชาย ชื่นสุขสวัสดิ์ บรรณาธิการอำนวยการกลุ่มโพสต์พับลิสชิ่ง เป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์มายาวนาน ซึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นในรายการ “รู้ทันสื่อกับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ” ทางสถานีวิทยุ เอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิร์ต เวลา 10.30 – 11.30 น. เมื่อวันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา ดังมีรายละเอียด

-ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกลับกลุ่มทริบูนฯ เป็นเรื่องใกล้ตัวคนทำสื่อไทยหรือไม่
เป็น เรื่องที่น่าเสียใจ เพราะว่าทริบูน คัมปะนี ที่เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง และประกอบกิจการมานานหลายปี เช่น แอลเอไทม์ บัลติมอร์ไทม์ และทริบูน ชิคาร์โก้ทริบูน แต่ต้องพูดตรงๆ ว่า ที่จริงแล้วแนวโน้มของสื่อในประเทศสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ ยอดขายลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ในระยะ 25 – 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจหมายถึงจำนวนผู้อ่านที่ลดลง แต่เรื่องการถดถอยในแง่ของยอดขายนั้นจะมีผลจากการที่มีอินเตอร์เน็ตขึ้นมา และคนเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นอย่างหนักกับหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐ และประเทศอังกฤษ คือ ตลาดโฆษณา หรือคลาสสิฟาย หรือตลาดโฆษณาย่อย แยกเป็นฉบับเฉพาะ ซึ่งในอดีตแผนกคลาสสิฟายของตลาดหนังสือในสหรัฐอเมริกา เป็นแผนกที่มีรายได้สูงมาก แต่สื่ออินเตอร์เน็ตก็ครอบครองไปแล้ว เพราะสามารถจะเปิดให้ใครมาโฆษณาก็ได้อย่างกว้างขวาง ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษขาดรายได้ตรงนี้ไป

ขณะเดียวกันการเติบโตของอินเตอร์เน็ตเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษคนนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 50 % และการบริโภคข่าวสาร แต่ไม่ได้หมายถึงข่าว คือข่าวสารข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยว การดูหนัง ซื้อของทางอินเตอร์เน็ต และทางโทรศัพท์มือถือที่เข้ามาครอบครองการรับรู้ข้อมูลตรงส่วนนี้จริง และเป็นเหตุผลที่ทำให้ยอดขายหนังสือพิมพ์ตกลง
ทั้งนี้แม้อินเตอร์เน็ตมีการเติบโตเร็วและเพิ่มขึ้นจริง แต่หากคิดเป็นเม็ดเงินที่ได้จากการโฆษณาที่ถือเป็นรายได้หลักแล้วยังสู้ หนังสือพิมพ์ไม่ได้ แต่ค่าใช้จ่ายของหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ต่างประเทศจะสูงพอสมควร ส่วนใหญ่เหมือนกับประเทศไทย โดยเฉพาะในเอเชียนั้นต้นทุนประมาณ 50 – 60 % คือบุคลากร พนักงาน นักข่าว เท่าที่ทราบหนังสือพิมพ์แอลเอไทม์ พยายามจะลดจำนวนนักข่าวที่มีอยู่เกือบ 1,000 คนลง

-ในแง่ของการทำหน้าที่ และขนาดขององค์กร ถือว่าเยอะเกินไปหรือไม่
เย อะมาก ทั้งนี้เป็นเพราะนักข่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งอาจต้องการเวลานาน 2 วันเพื่อเขียนข่าวหนึ่งชิ้น ในขณะที่นักข่าวไทยคนหนึ่งต้องวิ่งทำข่าว เหตุผลเป็นเพราะเขาเน้นคุณภาพ เขาอยากให้นักข่าวเจาะเข้าไป สัมภาษณ์คนนี้แล้ว อีกข้างจะว่าอย่างไร ต้องศึกษาภูมิหลังมาประกอบข่าว แต่เนื่องจากปริมาณของนักข่าวพันกว่าคนถือว่าเยอะมาก และเจ้าของพยายามให้บรรณาธิการลดจำนวนคนลง แต่บรรณาธิการไม่เห็นด้วย นี่คือเหตุผลหนึ่ง

นอกจากนี้ต้นทุนค่ากระดาษสูงมากโดยเฉพาะในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งราคากระดาษต่อตันโดยเฉพาะที่ซื้อในประเทศไทยประมาณ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วงปลายปี 2551 ที่ผ่านมา ขึ้นไปอีกเป็นประมาณ 850-900 ดอลลาร์ต่อตัน นี่คือภาพรวมในสหรัฐอเมริกา

ส่วนในเอเชียกลับมียอดขายหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะใน 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตประมาณ 5 % แต่การเติบโตจริง ๆ อยู่แค่ 2 ประเทศ คือ ประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ซึ่ง 2 ประเทศนี้มีประชากรจำนวนมาก การเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตสูงมาก ประเทศจีนเติบโตประมาณ 10 – 11% ประเทศอินเดียมีการเติบโตประมาณ 8 – 9 % หมายความเศรษฐกิจเข้มแข็ง เศรษฐกิจดี มีความเติบโต เพราะบริษัทหลายๆ แห่งยอมลงโฆษณา เพิ่มรายได้ให้สื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศอินเดีย ส่วนที่อื่นๆ เช่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไทย และมาเลเซีย ยอดขายหนังสือพิมพ์เพิ่มไม่ถึง 5% และหากเปรียบเทียบรายได้โดยเฉพาะรายได้ของหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มาจากโฆษณา แต่ค่อนข้างจะตกต่ำ ตามสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา

สภาพเศรษฐกิจของโลกมีผลกระทบต่อประเทศสหรัฐอเมริกา ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว แต่ในภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้นเริ่มส่งผลกระทบแล้ว ผมได้ข่าวจากพรรคพวกที่ฮ่องกงว่า หนังสือพิมพ์ South China Post หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ในฮ่องกง เริ่มปลดพนักงานแล้วประมาณ 30 คน ซึ่งอาจจะเป็นฝ่ายธุรการ หรือฝ่ายบริหารส่วนหนึ่ง แต่ในส่วนของข่าวจะเป็นอย่างไรนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แนวโน้มไม่ค่อยดี นับเป็นสัญญาณที่น่าจับตามอง

ถ้า เราพูดถึงสภาพนอกจากประเทศอินเดียกับประเทศจีนแล้ว ในเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทยเป็นอย่างไรนั้น ตามที่ทราบคือค่ากระดาษเพิ่มขึ้น แต่ยอดขายหนังสือพิมพ์มีการเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ตามตัวเลขจริงๆ นั้นผมไม่ทราบ แต่จากการประเมินเอง เพราะว่าหนังสือพิมพ์บางฉบับอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บางฉบับมีการตรวจสอบยอดขาย แต่สำหรับประชากรไทย 62 ล้านคน ผมประเมินว่ายอดขายหนังสือพิมพ์จริง ๆ ทุกวันไม่เกิน 3 ล้านฉบับ นับเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร

-จาก จำนวนยอดขายหนังสือพิมพ์ในประเทศจีนและอินเดีย แสดงว่าประชากรของประเทศอื่นอ่านหนังสือพิมพ์เป็นสัดส่วนที่เยอะกว่าเมื่อ เทียบกับประเทศไทย
ดู แล้วมากกว่า เช่นในประเทศอินเดียเทียบกันไม่ได้ เพราะประเทศอินเดียมีประชากรเยอะ และการขายหนังสือพิมพ์ฉบับละ 1 รูปี ถือเป็นราคาที่ต่ำมาก แต่เป็นเพราะขายในราคาที่ต่ำ ส่งออกมากคนซื้อมาก จึงสามารถคิดค่าโฆษณาในราคาที่สูงได้

-เขามีรายได้จากโฆษณาเป็นหลัก โดยไม่ได้คำนวณถึงต้นทุนทั้งหมด 
จะ ครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดแต่รายได้จะดีกว่า ตัวอย่างเช่น ประเทศอินเดียวมีประชากรทั้งหมดประมาณพันกว่าล้านคน ซึ่งมีการประเมินว่าคนชั้นกลางที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นคนมีฐานะมีประมาณ 300 ล้านคน นับเป็นจำนวนที่สูงมาก และนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ทำไมตลาดหนังสือพิมพ์ในประเทศจีนและอินเดียจึงดีกว่าในประเทศไทย ในขณะที่ประชากรไทยมีประมาณ 62 ล้านคน ผมจึงประเมินว่ายอดขายหนังสือพิมพ์ 3 ล้านฉบับต่อวัน ส่วนใหญ่จะเป็นหัวเมืองหลักๆ เช่น กรุงเทพฯ โคราช เชียงใหม่ ภูเก็ต คนไทยในต่างจังหวัดส่วนใหญ่บริโภคข่าวจากวิทยุ โทรทัศน์ โดยอ่านจากหนังสือพิมพ์จะน้อยมาก

-3 ล้านฉบับหมายถึงยอดรวมของทุกสื่อหรือไม่
ผมประเมินว่าทุกฉบับ ไม่เยอะ

-จาก ข้อสังเกตหนังสือพิมพ์ South China Morning Post เริ่มมีสัญญาณปลดคนออกมาแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าจากสภาวะในบ้านเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะส่งผลกระทบอย่างไร และแนวโน้มของธุรกิจสื่อน่าจะเป็นธุรกิจแรกหรือไม่ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเม็ดเงินจากโฆษณา เพราะกลุ่มทุนเองอาจจะพิจารณาว่าถ้าเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอาจต้องยกเลิก หรือลดทอนสัดส่วนในการสนับสนุนโฆษณาในส่วนนี้ไป โดยเฉพาะกับสื่อหนังสือพิมพ์ 
ผม มองว่าเวลาที่เราดูโฆษณา เราจะรู้ว่าสัญญาณเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เมื่อก่อนหน่วยงานราชการจะประกาศว่าตัวเลขความเติบโตทางเศรษฐกิจจะเป็น อย่างไร เราจะดูว่าโฆษณาจะลดหรือถอยหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเลขจากเอซีนีลเส็นซึ่งเป็นหน่วยงานที่จับตามองสื่อ โดยเฉพาะการขายโฆษณา และยอดขาย ผมขอพูดอีกอย่างว่า ตัวเลขที่จะเล่าต่อไปนี้ อาจไม่ได้เป็นตัวเลขที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งอาจจะประกาศว่า หนังสือพิมพ์เต็มหน้านั้นขายราคานี้ แต่จริงๆ แล้วบวกลบค่าใช้จ่ายแล้วอาจไม่ได้ขายตามราคาที่วางไว้ แต่ตัวเลขของเอซีนิลเส็นเป็นตัวเลขมาจากราคาที่เขาประกาศขาย ยอดโฆษณาสำหรับหน้าหนึ่ง หรือครึ่งหน้า หรือ ? การที่กล่าวถึงตรงนี้หมายถึงการถดถอยของโฆษณามากกว่า

ยกตัวอย่าง สำหรับตัวเลขจากเอซีนิลเส็น เมื่อปี 2007 ที่ผ่านมาจริงๆ การขายโฆษณาในสื่อทีวีต้องยอมรับว่าทั้งหมด 83,000 ล้าน ซึ่งมากจากอัตราค่าโฆษณาที่ประกาศยังไม่ได้ลด เพราะตัวเลขที่รับจริงจะลดน้อยกว่านี้มาก ซึ่งหมายความว่าการถดถอยจะมากกว่านี้ แน่นอนที่สุดคือสื่อโทรทัศน์ได้ไปแล้วประมาณ 58 % ของ 83,000 ล้าน คือ 48.7 พันล้าน หนังสือพิมพ์ 14.2 พันล้าน วิทยุ 5.7 พันล้าน และตามด้วยโรงหนัง แต่เมื่อเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2551 ลดไปแล้ว ทีวีลดประมาณ 4 % เหลือแค่ 46 พันล้าน หนังสือพิมพ์ลดลง 2.5 % เหลือ 13.9 พันล้าน เปรียบเทียบกับ 14.2 พันล้าน ทุกหมวดจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โฆษณาในโรงหนัง ป้ายโฆษณาต่างๆ ลดลงหมด ตามสัดส่วน เพราะปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง ค่าน้ำมันก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง

ซึ่ง ตอนนี้ราคานำมันลดลง แต่เวลาซื้อกระดาษเราไม่ได้สั่งมาล่วงหน้าในช่วงระยะเวลาเพียงสั้นๆ แต่เราสั่งล่วงหน้ามาก่อน 3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายังสูงอยู่ และกว่าจะนำมาใช้ก็มีผลต้องเก็บไว้เผื่อปีหน้าด้วย ซึ่งหมายความว่าเรายังคงใช้กระดาษราคาแพงอยู่

-ถึงแม้ราคากระดาษโลกจะเปลี่ยนไปแล้ว ราคาน้ำมันลดลง แต่ราคาที่ซื้อกระดาษคือราคาก่อนหน้านี้
ราคา น้ำมันลงช่วยแค่ค่าใช้จ่ายในการให้นักข่าวไปทำข่าว ไปส่งหนังสือพิมพ์ แต่หลักๆ คือเรื่องของค่ากระดาษ ซึ่งยังไม่ทราบว่าแนวโน้มที่จะลดค่าใช้จ่ายเมื่อไหร่

-ตอนนี้ก็ยังไม่มีแนวโน้มการลดค่ากระดาษเลย
มี ข่าวว่าจะเริ่มลดในปีหน้าเราจึงต้องมาดูว่าถ้าเขาลดแล้วเราจะซื้อเท่าไหร่ เพื่อให้ต้นทุนที่ซื้อสำหรับปีหน้าลดลง เพราะตอนนี้ยังสูงอยู่

-เมื่อ ปี 2540 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ วงการสื่อได้รับผลกระทบอย่างมาก มีนักข่าวตกงานเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่อยู่ในวงการสื่อ ปรากฏการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นอีกในปี 2552 หรือไม่ แล้วธุรกิจสื่อจะมีสภาพแบบเดียวกับเมื่อปี 2540 หรือไม่
เมื่อ ปี 2540 มีนักข่าวตกงานกว่า 2,000 คน และมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ต้องปิดกิจการลง ไม่ว่าจะเป็นเอเชียไทม์ ไทยแลนด์ไทม์ และอีกลายฉบับ กลุ่มที่เหลือจะเป็นกลุ่ม โพสต์ กลุ่มเนชั่น มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่อยู่ตัวได้ คือมีสภาพแตกต่างกัน เพราะตอนนั้นเรามีปัญหาเรื่องการเงิน การแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าล์ เรื่องธนาคารที่ประสบปัญหาอย่างมาก แต่ครั้งนี้ที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าตอนนี้จะลดลงบ้างแล้ว แต่ปัญหาคือปัญหาเศรษฐกิจโลกของสหรัฐอเมริกา ที่ลุกลามไปยังยุโรป มาถึงเอเชีย และอีกปัจจัยคือ ปัญหาการเมืองในประเทศ ซึ่งประเด็นที่สองนี้ทำให้ผู้บริโภคไม่มีความมั่นใจ บริษัทเริ่มมีปัญหา และเจอเรื่องการปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นหลัก

สิ่งเหล่านี้จะส่งผลในปี 2552 อย่างแน่นอน คือ 1. ทำให้รายได้เข้าสู่ประเทศถดถอยลง 2. ความมั่นใจของบริษัทต่างๆ ไม่สามารถส่งออกได้ ทำให้รายได้ตก คนก็ตกงาน ส่งผลต่อหนังสือพิมพ์ทั้งสิ้น

ซึ่งที่จริงแล้วเอซีนิลเส็นคาดการณ์ว่าปีนี้ อย่างน้อยเรายังคงตัว คืออาจจะไม่เติบโตแต่อาจจะไม่ลด แต่ความจริงตอนนี้ลดการเติบโตไปแล้ว 15 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ผมคิดว่าไม่เกิดวิกฤตเหมือนกัน เพราะสิ่งที่บริษัทโฆษณาจะทำคือ เมื่อมีงบโฆษณาอยู่แค่นี้ จะเลือกสื่อที่สามารถสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้ามากที่สุด แน่นอนว่าปี 2552 สื่อโทรทัศน์จะได้รับส่วนแบ่งตรงนั้นมากที่สุด และสิ่งที่หนังสือพิมพ์ควรทำคือ ต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น แทนที่จะประกาศขายพื้นที่โฆษณาอย่างเดียว อาจจะประกาศจัดงานต่าง ๆ งานประชุมร่วมกับสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะบอกผู้ที่ลงโฆษณาว่าเราสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแน่นอน

-กรณีที่รายได้สื่อหนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ ลดลง จะทำให้สื่อโทรทัศน์ลดลงด้วยหรือไม่ 

ลด ลง แต่เขาก็ยังได้รับเค้กส่วนใหญ่ไปอยู่แล้ว เช่นเมื่อปีที่ผ่านมาสื่อโทรทัศน์มีรายได้ 48,000 กว่าล้าน ส่วนปีนี้ 26,000 กว่าล้าน ก็ยังถือว่าครองส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่มาก ซึ่งแนวโน้มก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไป

-รายได้ของสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นอย่างไร เพราะระยะหลังตลาดอินเตอร์เน็ตเตอบโตอย่างมาก
อินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรตัวเลขอินเตอร์เน็ต ต้องยอมรับว่าตัวเลขของแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกัน แต่มีตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 15 ล้านคน ซึ่งถือว่าเริ่มโตขึ้น แต่ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรยังน้อยอยู่ ในแง่ของเปอร์เซ็นต์กับประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศเล็กเกือบ 60 – 70 % ที่ใช้อินเตอร์เน็ต แต่ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และชนชั้นกลาง และผู้หญิงเริ่มให้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น นอกจากให้ในที่ทำงานแล้วยังใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นแนวโน้มที่ดี

นั่น เป็นทิศทางที่ทำให้เราได้รู้สภาพเศรษฐกิจ อย่างน้อยเพื่อให้หลายๆ คนได้เตรียมตัวสำหรับปี 2552 โดยเฉพาะคนในวงการสื่อเองจะได้ รู้และประเมินตัวเองเพื่อปรับตัวอย่างไร ซึ่งก็เริ่มมีการดำเนินการไปบ้างแล้ว

สุมนา วงษ์กะพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงาน สายงานทรัพยากรบุคคลและองค์กร บมจ.ธนาคารกรุงไทย เป็นประธานปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการ KTB เยาวชนคนรักข่าว” รุ่นที่ 6 ณ ศูนย์ฝึกอบรม บมจ.ธนาคารกรุงไทย (เขาใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยมี ปัญญา พราหมณีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ร่วมด้วย เมื่อเร็วๆ นี้
………………………………………………………………………………………………………………………

นาต ยา เชษฐโชติรส นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ปั้นนักข่าวเป็นนักเขียน” รุ่นที่ ๒ ณ ภูตะวันรีสอร์ท ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยมีนักเขียนชื่อดัง อาทิ ชมัยภร แสงกระจ่าง (ไพลิน รุ้งรัตน์), อัศศิริ ธรรมโชติ, รุ่งมณี เมฆโสภณ, อรสม สุทธิสาคร, ชาติ กอบจิตติ, ประชาคม ลุนาชัย และ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ร่วมเป็นวิทยากร เมื่อเร็วๆ นี้

 


เปิดตัวหนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งส.ป.ป. ลาว จัดงานเปิดตัวหนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว ในวันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2551 เวลา 11.00 น. ณ ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

หนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว เป็นความริเริ่มร่วมกันของทั้งสองสมาคมวิชาชีพสื่อ โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนทั้งไทยและลาวเป็นไปใน แนวทางที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ และเป็นกรอบการทำงานสำหรับนักข่าวให้สามารถสื่อสารได้ตรงกัน

การเปิดตัวหนังสือครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ สื่อมวลชนไทย-ลาว ที่เริ่มความสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 มีการผลัดเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันปีละ 1 ครั้ง โดยในปี 2551 นี้ ท่านสมสนุก มิไซ อุปนายกสมาคมนักข่าวแห่ง ส.ป.ป.ลาว เป็นหัวหน้าคณะนำสื่อมวลชนลาวจำนวน 7 คนมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 22-29 ธันวาคม 2551

สื่อมวลชนที่สนใจสามารถติดต่อขอรับหนังสือคู่มือสื่อมวลชนไทย-ลาว ได้ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โทร. 02-668-9422

 


เปิดแฟ้มเรื่องร้องเรียน

โดย ชาย ปถะคามินทร์
เลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์

คมปากกาอย่าใช้เพื่อประโยชน์ตน

คำวินิจฉัยคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
เรื่อง การร้องเรียนจริยธรรมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง

เนื่องจากปรากฏว่ามีผู้ร้องเรียนต่อสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ว่า ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์…. ประจำจังหวัด….(แห่งหนึ่งทางภาคกลาง) ได้ข่มขู่ผู้ร้องเรียน อันเป็นการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ขอให้สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ดำเนินการเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนด้วย

คณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ได้นำคำร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามข้อบังคับว่าด้วยการพิจารณา เรื่องราวร้องทุกข์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546

ข้อเท็จจริงตามการพิจารณาสอบสวนพยานหลักฐานของคณะอนุกรรมการรับเรื่องราว ร้องทุกข์ ฟังได้ว่า เมื่อวันเกิดเหตุ คือวันที่ 22 มีนาคม 2549 ผู้ถูกร้องเรียนซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาคหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง สมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กับพวก ได้ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นร้านอาหารของผู้ร้องเรียน เมื่อรับประทานเสร็จได้ขอให้เจ้าของร้านออกใบเสร็จรับเงินที่มีใบกำกับภาษี ให้แก่ผู้ถูกร้องเรียน เจ้าของร้านแจ้งว่าไม่มี แต่ได้ออกใบเสร็จรับเงินของร้านให้ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจแก่ผู้ถูกร้องเรียน ยืนยันที่จะให้ออกใบเสร็จตามที่ต้องการให้ได้จนเกิดการพิพาทโต้เถียงกัน และต่อมาผู้ถูกกล่าวหาได้นำกรณีเรื่องนี้ไปรายงานเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ ฉบับดังกล่าว ฉบับวันที่ 31 มีนาคม 2549 หน้า 18 คอลัมน์ข่าวภูมิภาค พาดหัวข่าวว่า “แฉร้านอาหารหมกเม็ดภาษีสรรพากรลุย” โดยสรุปท้ายข่าวว่า สรรพากรน่าจะออกตรวจสอบเพื่อจัดเก็บภาษีให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และหลังจากเกิดเหตุการณ์เรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สรรพากรก็ได้ไปทำการตรวจสอบภาษีร้านอาหารแห่งนี้ตามการรายงาน ข่าวของผู้ถูกกล่าวหาในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น

ด้วยเหตุผลข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ เห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องเรียน ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เป็นการข่มขู่เพื่อที่จะให้ได้ผลประโยชน์ตามความประสงค์ของตน นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และเป็นการอวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่เรียกร้องสิทธิผลประโยชน์โดยมิชอบ อันเป็นการละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ข้อ 20 และ 21

ส่วนหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ซึ่งได้ลงข่าวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการรายงานข่าวของผู้ถูกร้องเรียน ซึ่งเป็นคู่กรณีกับผู้ร้องเรียน เจ้าของร้านที่พิพาท เป็นการเสนอข่าวที่มิได้มุ่งต่อประโยชน์สาธารณะ หากแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล เป็นการรายงานข่าวแต่ฝ่ายเดียวไม่เป็นธรรมต่อผู้ตกเป็นข่าว อันเป็นการละเมิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ข้อ 5 และ ข้อ 6 จึงเห็นสมควรตักเตือนให้ระมัดระวังการเสนอข่าว ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2548 ว่าด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรมข้อ 26 (4)

ผู้ถูกร้องเรียนได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ดังกล่าว

คณะกรรมการอุทธรณ์ได้พิจารณาหนังสือชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา ตามข้อบังคับว่าด้วยวิธีพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546 และธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2546 แล้ว ปรากฏว่า หนังสือชี้แจงซึ่งถือได้ว่าเป็นคำอุทธรณ์เป็นประเด็นเดียวกันกับที่เคยชี้ แจงมาในชั้นพิจารณาของคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ ซึ่งคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ได้พิจารณาวินิจฉัยไปแล้ว ไม่มีประเด็นใหม่เพิ่มเติมที่คณะกรรมการอุทธรณ์พึงต้องพิจารณาแต่อย่างใด จึงมีมติยืนตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์

คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้พิจารณาพยานหลักฐานข้อเท็จจริงแห่งคดีตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการรับ เรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แล้ว เห็นชอบตามมติของคณะกรรมการอุทธรณ์ และมีมติยืนตามคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยให้แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติให้ผู้ร้อง เรียน ผู้ถูกร้องเรียน และหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดผู้ถูกร้องเรียนทราบ เพื่อดำเนินการตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2548 ว่าด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรมข้อ 26 (4) ต่อไป

คณะกรรมการสภากรหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
22 ธันวาคม 2549

ที่มาของคำวินิจฉัยดังกล่าว สืบเนื่องจากได้มีผู้ร้องเรียน ขอความเป็นธรรมต่อสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งข่มขู่ผู้ร้องเรียน ซึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

ผลการตรวจสอบพบว่า ผู้ถูกร้องเรียนได้ชี้แจงว่า ได้พาผู้จัดการคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ของบริษัทผู้ที่ถูกร้องเรียนเป็นเจ้าของ ไปเลี้ยงรับรองที่ร้านอาหารของผู้ร้องเรียน หลังจากนั้นได้จ่ายค่าอาหารเป็นบัตรเครดิตของผู้ถูกร้อง พร้อมทั้งให้นามบัตรที่มีชื่อบริษัทไปเพื่อออกบิลกำกับภาษีนำไปใช้เป็นหลัก ฐานในการลดหย่อนภาษีในนามบริษัทช่วงสิ้นปี แต่เจ้าของร้านแจ้งว่าไม่มีบิล และได้ออกบิลค่าใช้จ่ายให้แต่ไม่ใช่แบบที่ผู้ถูกร้องต้องการ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ถูกร้องเคยมารับประทานอาหารที่ร้านดังกล่าว 3 – 4 ครั้ง น่าจะทราบว่าบิลที่ออกให้เป็นแบบใด และไม่มีรูปแบบตามที่ต้องการ

คณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบพบด้วยว่า การตีพิมพ์ข่าว โดยพาดหัวข่าวว่า “แฉร้านอาหารหมกเม็ดภาษี จี้สรรพากรลุย” ซึ่งการเสนอข่าวได้อ้างอิงแหล่งข่าวว่า เป็นเจ้าของบริษัทรักษาความปลอดภัยแห่งหนึ่ง พร้อมสัมภาษณ์สรรพากรพื้นที่ แต่ไม่ได้นำเสนอข้อมูลของอีกฝ่ายที่ถูกพาดพิง

คณะทำงานเห็นว่าผู้ถูกร้องทราบอยู่แล้วว่า ร้านอาการดังกล่าวไม่มีใบเสร็จแบบที่ผู้ถูกร้องต้องการ แต่ยังยืนยันที่จะเอาให้ได้ จึงเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แม้จะไม่มีการเบ่งกินฟรีก็ตาม ส่วนข่าวที่นำเสนอ มีลักษณะการนำเสนอด้านเดียว ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายที่ถูกพาดพิง

คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์จึงได้มีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมา แม้ต่อมาผู้ถูกร้องเรียนจะได้อุทธรณ์ แต่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าคำอุทธรณ์ไม่มีประเด็นใหม่เพิ่มเติม ที่คณะกรรมการต้องพิจารณา จึงมีมติยืนตามคำวินิจฉัยของคณะอณุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ดังกล่าว


รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนไทยในรอบปี 2551
โดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่อมวลชน

ในปี2551ที่ ผ่านมา ประเทศไทยของเราตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เกิดความขัดแย้ง ความแตกแยกร้าวลึกอย่างรุนแรงในสังคม เป็นหนึ่งปีที่คนไทยตกอยู่ในความเครียด วิตกกังวล เป็นหนึ่งปีที่คนไทยบางส่วนพร้อมหยิบอาวุธขึ้นมาทำร้ายกันและกัน เป็นหนึ่งปีที่คนเราพบกับความเสียหายและสูญเสียมากมายในทุกๆด้าน เป็นหนึ่งปีที่คนไทยแต่ละคนต่างมีคำถามว่า ประเทศของเราจะคืนความสู่ความสงบสุขหรือเราจะยุติความรุนแรง ที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

นักข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงที่ได้ทำหน้าที่รายงานข่าวในสถานการณ์ความ ขัดแย้งดังกล่าว สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เห็นว่าเป็นหนึ่งปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง เราต้องอดทนต่อการถูกดูหมิ่นดูแคลนด้วยคำด่าที่รุนแรงของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นคำด่าที่ลดทอนความน่าเชื่อถือต่อวิชาชพสื่ออย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราถูกทดสอบเรื่องของความเป็นกลางและเป็นธรรม โดยเฉพาะนายสมัครเรียกร้องให้สื่อฯเลือกข้างโดยเฉพาะเลือกอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่องค์กรวิชาชีพสื่อทุกองค์กรได้ออกมาปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว เพราเห็นว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ หากสื่อตัดสินใจเลือกอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเลือกปฏิเสธที่จะนำเสนอข่าว เสนอข้อเท็จจริงของอีกฝ่ายหนึ่งจะยิ่งเพิ่มเติมสถานการณ์รุนแรงให้ทวีมาก ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในการที่สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย และการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา องค์กรสื่อมวลชนถูกคุกคามทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยเฉพาะกรณีสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ซึ่งเป็นสื่อของรัฐที่โดนกลุ่มพันธมิตรฯ บุกเข้าไปยึด กรณีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่จ.เชียงใหม่ ถูกกลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 ปิดล้อม แม้กระทั่งสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี  ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของเอกชน ก็โดนกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย กระทำการอุกอาจใช้อาวุธสงครามยิงถล่มใส่สถานี ที่ถือเป็นเหตุการณ์ที่คุกคามองค์กรสื่อโดยตรง รวมทั้งกรณีแกนนำพันธมิตรฯบางคนเรียกร้องให้ประชาชนไม่ซื้อหนังสือพิมพ์บาง ฉบับ จนเป็นเหตุทำให้ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวต้องระมัดระวังตัวมาก ยิ่งขึ้นเมื่อเข้าไปทำหน้าที่การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ถือการคุกคามสื่อในทางอ้อมเช่นเดียวกัน

เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองตลอดรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา นักข่าวและช่างภาพของสื่อมวลชนทุกแขนงต้องใช้ความอดทนในการทำหน้าที่ เพื่อให้ได้ข่าวและภาพข่าว เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ  แม้ ว่านักข่าวและช่างภาพของสื่อมวลชนทุกแขนงต้องเสี่ยงภัยในการทำหน้าที่ หลายคนได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ในวันที่ 7 ต.ค. 2551 นอก จากนี้ ยังมีนักข่าวและช่างภาพจำนวนมากถูกข่มขู่ คุกคาม และขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งจากหน่วยรักษาความปลอดภัยของกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มนปช. ที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน  อาทิ บังคับให้นักข่าวถอดเสื้อรณรงค์ยุติความรุนแรง หรือขัดขวางไม่ให้ช่างภาพถ่ายภาพ และการฉุดกระชากลากถูนักข่าว ฯลฯ

ขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนในต่างจังหวัดก็ถูกคุกคามมากยิ่ง ขึ้น เริ่มจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นายชาลี บุญสวัสดิ์ 64 ปี ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ประจำ จ.นราธิวาส เสียชีวิตระหว่างเข้าปฏิบัติหน้าที่ ความสูญเสียดังกล่าวได้สัญญาณเตือนต่อความปลอดภัยของนักข่าวส่วนภูมิภาคของ สื่อมวลชนทุกแขนง ต่อมาก็เกิดเหตุการณ์การลอบสังหารนักข่าวหนังสือพิมพ์มติชน 2 ราย คือ นายอภิวัฒน์ ชัยนุรัตน์ อายุ 48 ปี ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน และผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ประจำจ.สุพรรณบุรี เป็นการคุกคามการทำหน้าที่ของนักข่าวที่รุนแรงมาก เพราะการคุกคามดังกล่าว มีเป้าหมายคือชีวิตของนักข่าว สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่าการสังหารนักข่าวทั้ง 2 กรณี เป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจจะยอมรับได้ เพราะเห็นว่าการฆ่านักข่าวคือการฆ่าความจริง ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอย่างรุนแรง

ด้วยเหตุนี้ สมาคมนักข่าวฯจึงเห็นว่าในรอบปี 2551 เป็น ปีแห่งการทดสอบความเป็นวิชาชีพสื่ออย่างแท้จริง จริยธรรมของสื่อมวลชนถูกทดสอบจากการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งในรอบ ปีที่ผ่านมานักข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงผ่านการทำหน้าที่อย่างอดทนต่อความ เหน็ดเหนื่อย  และถูกกดดันอย่างรอบด้าน เสมือนหนึ่งการปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบ การทำหน้าที่ในรอบปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นต้นทุนที่มีความหมายของนักข่าวทุกคน ที่จะเลือกเดินบนเส้นทางของนักวิชาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป

ในปี 2552 สมาคม นักข่าวฯ ขอให้นักข่าวและสังคมไทยร่วมกันสรุปบทเรียนในทุกๆด้าน ที่เกี่ยวกับสื่อมวลชนเพื่อผลักดันให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันปฏิรูป สื่อสื่อมวลชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะต้องหามาตรการป้องกันสื่อของรัฐไม่ให้ยอมรับใช้หรือตกเป็นเครื่อง มือทางการเมืองของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ รวมทั้งใช้สื่อของรัฐในการปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังซ้ำเติมความแตกแยกใน สังคม ยอมละทิ้งหลักการของวิชาชีพสื่อ ที่ควรยึดมั่นความถูกต้อง ดูแลผลประโยชน์สาธารณะ คำนึงถึงความครบถ้วนและรอบด้านของข้อมูล ให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งอย่างเท่าเทียม

สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ขอเป็นกำลังใจให้กับนักข่าวของสื่อมวลชนทุกแขนงและให้ยึดมั่นในการทำหน้าที่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะตามหลักวิชาชีพของสื่อมวลชนตลอดไป

ขณะที่ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา ฝ่ายสิทธิเสรีภาพและปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการคุกคามสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยได้รวบรวมประมวลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสื่อตลอดทั้งปี พบว่ามีการคุกคามวิชาชีพสื่อฯ คุกคามบุคคล และการคุกคามองค์กรสื่อฯ หลากหลายรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมดังต่อไปนี้ คือ

1.“ฆ่าปิดปาก 2 นักข่าวมติชน” คือ นายอธิวัฒน์  ไชยนุวัฒน์ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชนและช่อง7ประจำ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อคืนวันที่ 1 สิงหาคม และนายจารึก รังเจริญ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 27ก.ย. ซึ่งทั้ง2เหตุการณ์เป็นผลมาจากการทำหน้าที่สุนัขเฝ้าบ้าน(watch dog) ที่ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลในสังคมจนทำให้ผู้มีอิทธิพลที่ถูกนำเสนอข่าวโกรธ แค้นจึงตามฆ่าในที่สุด ซึ่งเรื่องนี้สมาคมนักข่าวฯก็ได้ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของคนร้าย เพราะถือเป็นการฆ่าสื่อปิดปากที่สะเทือนใจคนในวงการ

2.“วิวาทะรายวันของนายสมัครกับสื่อฯ” นับ ตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนกระทั่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่มีวาทะลีลาการให้สัมภาษณ์กับสื่อฯที่ลดทอนความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน ไทย อาทิ “ถามอะไรโง่ๆแบบนี้ เป็นคำถามที่โง่เง่าที่สุดที่เคยได้ยินมา” “ถามอย่างนี้จะบ้าหรือเปล่า” “ตอนนั้นคุณอายุเท่าไร อายุเท่าไร คุณเกิดหรือยัง” “ถามหาหอกอะไร” “เมื่อคืนไปร่วมเสพเมถุนกับใครหรือไม่” “สติปัญญานักข่าวมีคิดได้เท่านี้เหรอ มันน่าอายจริงๆ นะคิดได้ยังงี้เนี่ย” อีก ทั้งยังมีการแสดงออกทางสีหน้าต่อนักข่าวภาคสนามในหลายโอกาส เช่น เดินจ้องหน้านักข่าวเป็นเวลานาน และต่อว่าสื่อฯที่ด้านหน้าห้องน้ำที่ตลาดอ.ต.ก.หลังการจัดรายการสนทนาประสา สมัคร ซึ่งทั้งหมดของวาทะของนายสมัครนั้น เมื่อวันที่ 3 พ.ค.เป็นวันเสรีภาพสื่อ ได้มีงานวิจัยศึกษา “พฤติกรรม-แบบแผนและกลวิธีการสื่อสารของนายสมัครฯ” ที่ มีต่อสื่อมวลชน จนพบว่าการสื่อสารของนายสมัคร แสดงออกถึงความเพิกเฉย ไม่สนใจ มองไม่เห็นคุณค่าของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยด้วยการไม่เคารพศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของสื่อ

3. “นายกฯสมัคร” เรียกร้องให้สื่อฯ เลือกข้าง ท่ามกลาง สถานการณ์ความขัดแย้ง หลังจากกลุ่มพันธมิตรฯยึดทำเนียบรัฐบาลสำเร็จในช่วงบ่ายวันที่ 26 สิงหาคม และในช่วงเช้าวันเดียวกันกลุ่มนักรบศรีวิชัยได้บุกรุกสถานีโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทย(เอ็นบีที)ตลอดจนช่วงเช้ากลุ่มพันธมิตรได้เข้ายึดสถานี ปรากฏว่าเวลา 15.00 น. นายสมัครได้แถลงขอให้สื่อมวลชนเลือกข้างว่า “สื่อก็ต้องช่างน้ำหนักด้วยว่าจะเลือกข้างไหน งานนี้จะอยู่ตรงกลางไม่ได้ เพราะสื่อครึ่งหนึ่งที่อยู่กับเขานั้นท่านส่งเสริมให้บ้านเมืองเสียหายไป ด้วย”    ซึ่งในวันเดียวกัน 4 สมาคมวิชาชีพสื่อประกอบด้วย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง “การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง” แสดงความไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว เพราะเป็นความคิดและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักการในการทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนที่จะต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน ใน ทางกลับหากสื่อมวลชนทำหน้าที่รายงานข่าวที่บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือยอมตนเป็นเครื่องมือการปลุกระดมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการเผชิญหน้าในสังคมและอาจนำเหตุการณ์ไปสู่ความรุนแรงได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในสังคมไทยไม่ต้องการให้เกิดขึ้น สำหรับข้อเสนอให้มีการเลือกข้างนั้น ขอยืนยันว่า สื่อมวลชน ทุกแขนงเลือกอยู่ข้างประชาชนและความถูกต้องอยู่แล้วแต่ไม่จำเป็นต้องเสนอ ข่าวไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของฝ่ายต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในช่วงขณะนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งสี่องค์กร ขอสนับสนุนให้สื่อมวลชนทุกแขนง ทำหน้าที่การรายงานข่าวสารข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่ายอย่างตรงไปตรงมา ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องยึดมั่นในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพของสื่อมวลชนอย่างเคร่งครัด ด้วยการนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องและรอบด้านมากที่สุดเพื่อประกอบการตัดสินใจใดๆ

4. คุกคามสื่อในการทำข่าวการชุมนุมไม่ ว่าจะสีไหน นับจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. – 3 ธ.ค. 2551 เกิด เหตุนักข่าว-ช่างภาพถูกคุกคามหลายต่อหลายครั้ง ทั้งจากการกดดันการรายงานข่าวจากผู้ชุมนุม นักรบศรีวิชัย การ์ด ฝ่ายรักษาความปลอดภัย แนวร่วมระดับแกนนำที่ขึ้นเวทีปราศัย อาทิ น.ส.ศศินภา วัฒนวรรณรัตน์ ผู้สื่อข่าวนสพ.มติชน ถูกนายภูวดล ทรงประเสริฐ แนวร่วมพันธมิตรฯ กระชากจนล้มลง กรณีของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯบังคับให้นายณัฐวุฒิ กรัณยโสภณ ผู้สื่อข่าวนสพ.บ้านเมือง ถอดเสื้อซึ่งมีข้อความว่ายุติความรุนแรง กรณีการ์ดพันธมิตรยิงปืนใส่รถผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวทีเอ็นเอ็นจนรถพรุนไป ทั้งคัน  รวมทั้งนักข่าวจส.100 ถูกแก๊สน้ำตายิงเข้าใส่กลางหลังในการทำข่าวการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และอีกหลายกรณี รวม ทั้งการไปทำข่าวในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่ง ชาติ(นปช.)ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งนักข่าวนสพ.ไทยรัฐถูกผู้ชุมนุมเตะจนล้มคว่ำ ซึ่งสมาคมนักข่าวฯก็มีการออกแถลงการณ์เพื่อยับยั้งการคุกคามดังกล่าวอยู่ หลายต่อหลายครั้งเช่นกัน

5. แปลงโฉมช่อง11 เป็น NBT เกิด ขึ้นในช่วงที่นายจักรภพ เพ็ญแข ซึ่งช่วงนั้นเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ และเป็นความต้องการของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการสถานีโทรทัศน์ที่มีลักษณะคล้ายกับไอทีวีเดิม ซึ่งมีการเปิดตัวโลกโก้NBTเมื่อวันที่ 1 เม.ย. และเริ่มออกอากาศภายใต้ชื่อใหม่ แต่สุดท้ายก็ยังไม่พ้นวังวนของการเป็นสื่อของรัฐที่ทำข่าวเชียร์รัฐบาลขณะ นั้นอยู่เช่นเคย

6. “ยึดNBT – ปิดล้อมTPBS เชียงใหม่ – ยิงถล่ม ASTV” ซึ่ง ทั้ง 3 เหตุการณ์ แม้จะต่างกรรม ต่างวาระ และต่างสถานที่ แต่ก็ถือว่าเป็นการคุกคามองค์กรสื่อ เพียงไม่ต้องการให้สื่อทำหน้าที่ของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่กลุ่มชายฉกรรจ์ บุกสถานีโทรทัศน์กรมประชาสัมพันธ์หรือเอ็นบีทีในยามวิกาล และเช้าวันเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯได้พังประตูทางเข้ายึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และวันที 3 พ.ย.กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พังประตู ปิดล้อม ตัดน้ำ-ไฟ ศูนย์ข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจ.งหวัดเชียงใหม่ และกรณีASTVถูก ยิงถล่มด้วยอาวุธสงคราม จนทำให้นักข่าว ผู้ประกาศ และบุคคลในสถานีต้องหนีตายกันจ้าละหวั่น ซึ่งองค์สื่อได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ประณามและให้หยุดพฤติกรรมคุกคามสื่อดัง กล่าว

7. “โลตัส” ฟ้อง100 ล้าน บก.-คอลัมน์นิสต์ กรุงเทพธุรกิจ เรื่อง นี้ถูกวิจารณ์ว่าปิดปากสื่อด้วยกฎหมาย เพราะกรณีเมื่อวันที่ 20 เม.ย.ของนางนงค์นาถ ห่านวิไล บรรณาธิการข่าวธุรกิจการตลาด นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ถูกห้างค้าปลีกเทสโก้ โลตัส ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท จากกรณีนำเสนอบทความกล่าวหาว่า ห้างโลตัสเปิดสาขามากเกินความเป็นจริง และได้ต่อว่าในเชิงที่ว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็นการไม่รักชาติ และก่อนหน้านี้ บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ยื่นฟ้องนายกมล กมลตระกูล คอลัมนิสต์ นสพ.กรุงเทพธุรกิจเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 100 ล้านบาท โดย ข้อกล่าวหาอ้างถึงบทความเรื่อง “พ.ร.บ.ค้าปลีก กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” ในคอลัมน์ “ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชัน” ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2550

8.ความสูญเสียครั้งใหญ่ของไทยรัฐ สืบ เนื่องจากกรณีที่นายชาลี บุญสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวนังสือพิมพ์ไทยรัฐประจำจังหวัดนราธิวาสเสียชีวิตในขณะเข้าไปทำ ข่าวระเบิดบริเวณหน้าร้านอาหารสีส้มตรงข้าม สภ. สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส  ปรากฏ ว่า หลังจากนั้นก็ได้เกิดอุบัติเหตุสลดรเมื่อถตู้คณะ ผอ.ศูนย์ข่าวภาคใต้ไทยรัฐ-พร้อมผู้สื่อข่าว เสียหลักตกไหล่ทางชนต้นไม้เกาะกลาง ถังแก๊สระเบิดไฟท่วม ย่าง 5 ศพ คลอกสาหัสอีก 5 ราย ซึ่งทั้งหมดกำลังเดินทางไปงานศพของนายชาลีเหยื่อข่าวนราธิวาสเหยื่อระเบิด ที่อ.สุไหงโก-ลก

9. ถอดรายการ เป็น เรื่องธรรมดาไปเสียแล้วสำหรับการถอดรายการ ถอดผู้ดำเนินรายการของสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุที่เป็นลูกข่ายของกรมประชา สัมพันธ์ อย่างในรอบปีที่ผ่านมาในช่วงของนายจักรภพ เพ็ญแข ก็มีการถอดรายการมุมของเจิมศักดิ์ทางเอฟเอ็ม 105 และรายการที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลรุนแรง รวมทั้งการถอด “รายการข่าวหน้าสี่” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีแบบสายฟ้าแลบ หลังเปลี่ยนชื่อมาใช้NBT ไม่นาน แล้วนำรายการความจริงวันนี้เช้ามาจัดช่วงจต่อในเวลาเดียวกัน

10. นักข่าวทำเนียบรัฐบาลถูกห้ามใส่เสื้อคุกคามสื่อ โดยเมื่อวันที 23 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลสื่อมวลชนว่ามีผู้ใหญ่ขอห้ามให้ นักข่าวเลิกใส่เสื้อ “คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน” เข้า มาในทำเนียบรัฐบาล ทั้งที่เสื้อดังกล่าวสมาคมนักข่าวฯจัดทำขึ้นเพื่อแจกให้กับนักข่าวในสนาม และเป็นหนึ่งในการร่วมการรณรงค์กับยูเนสโก ที่กำหนดให้วันที่ 3 พ.ค. เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

 


ดินหน้าปฏิรูปช่อง 11/คาดกม.เข้าสภาได้สมัยนิติบัญญัติที่ 2 ก่อนสิ้นปี

นายกฯพบสื่อยันให้เสรีภาพ

เมื่อเวลา 13.30 น. วันอังคารที่ 13 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลสื่อของรัฐ ได้เดินทางไปบรรยายและรับฟังความคิดเห็นขององค์กรวิชาชีพสื่อ 5 องค์กร ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิ้ลทีวีแห่งประเทศไทย ที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีตัวแทนองค์กรวิชาชีพทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ เข้าร่วมเสนอความคิดเห็น โดยนายอภิสิทธิ์ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “นโยบายและการผลักดันปฏิรูปสื่อของรัฐบาลอภิสิทธิ์” แสดงเจตนารมณ์ของผู้นำรัฐบาลที่จะปฏิรูปสื่อให้เป็นผล โดยในช่วงท้ายได้เปิดให้ตัวแทนสื่อซักถามหรือเสนอความคิดเห็น มีสาระสำคัญคือ

การปฏิรูปสื่อมีความสำคัญ 2 ประการ เพราะ 1.ในเชิงของสภาวะแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นโลกของข้อมูลข่าวสาร หากย้อนกลับไปหลายสิบปีก่อนเหมือนคนละโลก เพียงแค่สิบปีหรือยี่สิบก็สัมผัสความแตกต่างที่สื่อมีต่อประชาชน ได้ย้ำเสมอว่าบทบาทของสื่อในการหล่อหลอมและสร้างค่านิยมให้กับคน มากกว่าพ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อกลุ่มเยาวชน เพราะเป็นโลกของคนวัยเหล่านี้ หลายสิ่งเป็นค่านิยมที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมีอิทธิพล

2.สื่อมีบทบาทอย่างสำคัญในการนำสังคมกลับคืนสู่ความเป็นปกติให้มากที่สุด เพราะความขัดแย้งทางสังคมเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลประกาศตั้งแต่ต้น อย่างน้อยที่สุดการนำบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ตนเชื่อว่าบทบาทของสื่อมีความสำคัญมาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้สื่อมีสิทธิเสรีภาพบนหลักการ ของวิชาชีพและมืออาชีพในการสะท้อนข้อมูลข่าวสาร เสนอความเห็นมุมมองต่างๆ ต่อประชาชน การปฏิรูปสื่อต้องดูโครงสร้าง ถ้าไม่แก้โครงสร้าง ผู้ทำงานหรือผู้ปฏิบัติงานก็ประสบกับความยากลำบาก ในการทำงานให้ตรงไปตรงมาในการเสนอความคิดต่อสังคม

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สิ่งที่คุกคามการทำงานของสื่อคืออำนาจรัฐและอำนาจทุน อำนาจรัฐเกิดจากความพยายามหรือความเชื่อว่าเมื่อยุคสมัยนี้เป็นสงครามข้อมูล ข่าวสาร ใครสามารถควบคุมข้อมูลข่าวสารก็สามารถชนะในการต่อสู้ จึงเอาสื่อมาเป็นเครื่องมือ ทำให้เป็นปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะสื่อของรัฐ ส่วนอำนาจทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ไปอยู่ในที่เดียวกันกับอำนาจรัฐ ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น เกิดการกดดันผ่านทุน แม้สื่อจะมีความคิดเชิงอุดมคติแต่สื่อสารมวลชนก็คือธุรกิจ หนีความจริงได้ยาก การใช้อำนาจทุนในการกดดันเกิดผลกระทบเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าไปแทรกแซง หรือบิดเบือน

“มาตรการสำคัญๆ เราจะต้องมาดูทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุน ในส่วนของอำนาจรัฐคือกฎหมายบางอย่างที่จะเอื้อต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิเสรีภาพของสื่อต้องมีการปรับปรุงแก้ไข เช่น พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นคนเสนอกฎหมายเมื่อสิบสองสิบสามปีที่ผ่านมา ก็พบความจริงว่ากฎหมายไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ วันที่มีการเสนอกฎหมายนั้นฝ่ายตรวจสอบไม่มีทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ ฝ่ายค้านทำงานต้องใช้วิธีการแนวทางอื่น ตนไม่เห็นว่ากฎหมายนี้ใช้ได้ จึงเป็นประเด็นที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกฎหมายนี้ล้ำหน้ารัฐธรรมนูญ 2540 เพราะทำไว้ก่อน หากกฎหมายนี้เกิดทีหลังก็จะไม่เป็นปัญหา”

นายกฯกล่าวด้วยว่า ถ้าเริ่มต้นจากการทำให้ข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นสิทธิของประชาชนที่จะต้อง รับรู้ ยกเว้นเหตุผลเฉพาะตามกฎหมาย และการปฏิรูปสื่อให้เข้มแข็ง ดีกว่าต้องมาตรวจสอบบนกฎหมายที่คิดว่าเป็นนโยบายที่สำคัญที่ต้องผลักดันคือ กฎหมายในแง่โครงสร้างสื่อของรัฐคือกฎหมายว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์และองค์กร กำกับคือ กสทช.เพราะเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2542-2543 มีปัญหามาตั้งแต่ต้น เพราะสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไปพันกับกิจการโทรคมนาคม มีความเห็นเป็นสองฝ่ายว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่สำหรับตนเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน วันข้างหน้ามีความยากมากว่าจะดูเป็นสองเรื่องได้อย่างไร เช่น บริการข้อความสั้นที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปเรื่องยาวๆ ให้สั้น เวลาอ่านแล้วรู้สึกตกใจและอันตรายมาก

ส่วนองค์กรกำกับเกิดได้ยาก จะเอาองค์กรไหนมากำกับ ช่วงที่เป็นฝ่ายค้านตนก็ไม่เห็นกับกระทรวงไอซีที เพราะไม่มีหลักประกัน จึงต้องหาความพอดี ที่ผ่านมาจะเห็นว่าถ้าได้เร็วเราก็ได้กรรมการไม่ดี ถ้าจะได้คนดีมาเป็นกรรมการก็มีการร้องเรียนกันไปมา จึงได้มอบโจทย์ให้นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ไปหาความพอดีและอิสระ อย่าทำให้เรื่องยุ่งยากหรือเกิดการร้องเรียนจนไม่มีกรรมการทำงานได้ ประการถัดมาก็มีความเป็นห่วงเรื่องหลักประกันของสื่อบางประเภท เช่น สื่อชุมชนหรือสื่อเชิงสาธารณะ ที่ผ่านมากฎหมายของรัฐบาลก่อนไม่ได้กำหนดสัดส่วนเอาไว้ จึงควรจะมีสัดส่วน เพื่อเป็นหลักประกันในการกระจายสื่อ บางเวลาต้องมีสาระสำหรับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสื่อของใคร

นายกฯกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ถ้าเราคิดว่าปล่อย ที่สุดคือประชาชนอาจจะไม่ได้มีโอกาสซึมซับบางเรื่อง เพราะประชาชนจะหนีรายการที่มีสาระ แต่อะไรที่เป็นเนื้อหาสาระก็ควรมี แต่ไม่ใช่มีสาระเพียงหนึ่งหรือสองแล้วปล่อยให้เป็นเรื่องธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุน แต่สำหรับสื่อของรัฐต้องมีการเปลี่ยนแปลง เดิมเราคิดว่าถ้าให้ไอทีวีเดิมเป็นทีวีเสรีแล้วเปลี่ยนช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์เป็นทีวีสาธารณะ ช่อง 11 จึงอยู่ในฐานะที่ต้องมาคิดกันว่าจะมีรูปแบบใด แต่ความจริงอยากเป็นรูปแบบสาธารณะ อย่างไรก็ตาม พื้นที่สำหรับราชการหรือรัฐต้องมีเพื่อการชี้แจง แต่ไม่ใช่นำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมือง แม้เส้นแบ่งอาจจะยาก แต่โดยสำนึกแล้วสามารถแบ่งได้ การทำงานคือการอธิบายชี้แจงถึงมาตรการที่ได้ผลักดันออกไปว่าทำด้วยอะไร ใช้เหตุผลอะไร ใช้เพื่อทำลายคู่แข่งในทางการเมืองไม่ได้ ส่วนเวลาสำหรับฝ่ายค้านก็ควรมี แม้จะเป็นการเมืองมาก เพราะฝ่ายค้านมีหน้าทีตรวจสอบ แต่อยากให้เป็นเชิงแลกเปลี่ยนในมุมมองของนโยบาย ไม่ใช่ตอบโต้กันทางการเมือง เพราะสามารถใช้พื้นที่การนำเสนอข่าวได้ทุกวันอยู่แล้ว

นายกฯย้ำว่า อยากเห็นกฎหมายคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ แต่พบว่ากฎหมายเช่นนี้มักจะถูกแปลงสารไปเป็นกฎหมายควบคุมสื่อ และอยากทำงานร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อ อะไรที่คุ้มครองคนทำงานที่ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา เมื่อเจออำนาจรัฐอำนาจทุนรัฐจะดูแลคุ้มครองเขาได้อย่างไร ถือเป็นสัญญาณที่สำคัญเพื่อให้สื่อมีหลักประกันที่ดีมากขึ้นในการเป็นอิสระ แต่รายละเอียดไม่อยากให้การเมืองเข้าไปยุ่ง มีการประเมินเป็นระยะๆ ว่าบทบาทของสื่อควรจะเป็นอย่างไร เพื่อให้การทำหน้าที่เป็นไปตามเป้าหมายและอุดมการณ์

สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต “ถ้าคุยอย่างเดียวไม่มีข่าวก็น่าเป็นห่วง เพราะมีการชี้นำตั้งแต่คำพูดไปจนถึงสีหน้าที่เราสัมผัสอยู่ทุกวัน แต่ก็ไม่อยากให้รัฐเข้าไปยุ่ง องค์กรวิชาชีพควรเอาปัญหานี้มาพูดคุยกัน ความพอดีและมาตรฐานควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี” นายกรัฐมนตรีกล่าว

นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า ในสภาวะความขัดแย้งอย่างนี้ ตนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อ แต่เวลาและสถานการณ์ที่ไม่ปกติมีความขัดแย้งสูง ต้องช่วยกันคิดกันทำว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น โดยไม่บิดเบือนความจริง ทำอย่างไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของคนที่มีวาระในเชิงการเมือง ซึ่งสื่อรู้ดีกว่าถ้าสื่อเสนอข่าวแต่คนกัดหมา คนกัดหมาก็จะเป็นเรื่องปกติ หมากัดคนไม่มี การช่วงชิงพื้นที่สื่อคือยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองก็คือการทำให้ผิด ปกติมากที่สุด ถ้าสื่อเสนอแต่ความไม่ปกติ นับวันสังคมก็จะเสพแต่ความไม่ปกติของสังคม ประวัติการทำงาน 17 ปี ตนไม่เคยคุกคามสื่อ อาจจะตอบโต้เวลาไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ใช้น้อยมาก จะพยายามรักษาแนวทางนี้ไว้ การถูกตำหนิวิจารณ์ต้องมีแน่นอน เพราะเข้าใจดีว่าโลกมีความสลับซ้อน

อนึ่ง นับเป็นครั้งแรกที่นายกรัฐมนตรีเดินทางมาบรรยายแนวคิดของผู้นำรัฐบาลด้วย ตนเองถึงที่ทำการขององค์กรวิชาชีพสื่อ และแลกเปลี่ยนแนวคิดในการปฏิรูปสื่อ โดยรับจะนำข้อเสนแนะของสื่อไปพิจารณาประกอบการดำเนินการของรัฐบาลต่อไป


ถาม-ตอบ นายกฯกับสื่อ

“อย่าให้ความต้องการสิ่งที่สมบูรณ์ทำให้เราไม่ได้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์”

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

หมายเหตุ หลังการบรรยาย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดให้สื่อมวลชนที่เข้าร่วมซักถามหรือเสนอแนะ ดังนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
– ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ 
1. เรื่องสื่อของรัฐ อาทิ กลาโหมมีสถานีวิทยุ 200 สถานี อสมท.76 และกรมประชาสัมพันธ์ หลายแห่ง จะทำอย่างไรเพื่อผลักหรือจัดสรรคลื่นให้กระจายอย่างเหมาะสม และ 2. จะจัดระเบียบวิทยุชุมชนที่มีประมาณ 4 พันสถานี และหลายแห่งไม่ได้เป็นสถานีวิทยุชุนจริงๆ  อย่างไร

– นายกฯ –
 เรื่องคลื่นของส่วนราชการที่ครอบคลุมทั้งสื่อกองทัพและอื่น ๆ ต้องคุยและพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา 1. เวลาที่ต้องจัดสรรคลื่นความถี่ ว่ามีความจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับภาครัฐเนื่องจากมีเรื่องความมั่นคง ซึ่งต้องดูตามความเป็นจริง และเมื่อดูตามความเป็นจริงตามกรอบความคิดนั้นแล้วทุกคนสามารถนึกออกว่า จะไม่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คำถามคือจะไปจากจุดที่เราอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไรโดยไม่เสียหลักการ แต่ต้องอยู่ในสิ่งที่เป็นไปได้

ถ้าให้ผมคิดเร็วๆ ต้องบอกว่า สมมติกำหนดออกมาแล้วว่า คลื่นที่ให้เพื่อความมั่นคงยังน้อยกว่าที่ใช้อยู่ในขณะนี้ โดยหน่วยงาน ต้องถามว่าหน่วยงานเหล่านั้นใช้เพื่อความมั่นคงจริงหรือไม่ โดยเนื้อหารายการแล้วค่อนข้างมั่นใจว่าคงไม่ใช่ เพราะในที่สุดเหมือนกลายเป็นว่าคลื่นของส่วนราชการต่างๆ จะเป็นความมั่นคงหรือหน่วยงานของรัฐ ก็จะถือเป็นของตนเอง และเมื่อสื่อมีความเป็นธุรกิจมากขึ้นสื่อพวกนี้มีสภาพกลายเป็นรัฐวิสาหากิจ ของเขาไปเลย

ผมว่าการดึงกลับมาต้องดูด้วยความเป็นธรรม ในแง่ที่ว่าจะให้กลับเขามาอยู่ในกรอบที่เราต้องการจะเห็น โดยผลประโยชน์ของหน่วยงานได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จะมีวิธีคิดอย่างไร เพราะผมเชื่อว่าหากพูดอย่าสุดโต่งทางใดทางหนึ่ง คือ 1. หากสุดโต่งในทางที่ใครมีอยู่ก็รักษาไว้ ถือว่าไม่ได้เป็นการปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง  2. หากยึดทุกอย่างกลับมาหมดโดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นของใครผมว่าเกิดได้ยาก และไม่มีประโยชน์ที่จะทำอย่างนั้น แต่หากเอาความจริงมา พูดถึงผลประโยชน์ของหน่วยงานได้รับผลกระทบจะชดเชยให้เขาอย่างไร

ส่วน วิทยุชุมชน ด้วยข้อกฎหมายยังสับสนอยู่บ้าง จึงต้องพยายามทำให้กลับไปเป็นตามเจตนารมณ์เดิมของวิทยุชุมชน คือความเป็นสื่อเพื่อชุมชนจริงๆ ไม่ได้เป็นช่องว่างของการมีคลื่นอยู่ในมือเพราะว่าไม่สามารถเข้าถึงคลื่น หลักได้ โดยหลักคิดนี้จำเป็นต้องใช้ แต่วิธีการนี้ข้อกฎหมายและความคิดเห็นยังขัดแย้งกันค่อนข้างมาก แต่กำลังจะคลี่คลาย

– สมชาย แสวงการ – การปฏิรูปสื่อได้เดินมาครึ่งทางแล้ว พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ โทรคมนาคม ที่ค้างมา 12 ปี น่าจะสำเร็จได้ในรัฐบาลนี้ ถ้ารัฐบาลดึงเรื่องกลับมาทำอย่างจริงจัง โดยยึดหลักการที่กรรมการต้องเป็นอิสระ เป็นกลาง ยุติธรรม โปร่งใส ชัดเขน ที่มาของตัวอย่างทีวีไทยนั้น เป็นตัวอย่างที่สะท้อนได้ว่าไม่มีการฟ้องร้อง ก็น่าจะเป็นตัวอย่างต้นแบบ

อีกประการคือ ต้องสร้างหลักประกันให้ภาคประชาชนที่จะได้รับการจัดสรร 20 % ซึ่งไม่ได้เขียนในกฎหมายพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ ทั้งที่มีระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 เดิม ในระหว่างที่พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่แล้วเสร็จนั้น จึงอยากให้นายกช่วยเร่งทำภายใน 6 เดือน โดยขอความกรุณาไปกำกับดูแลอนุกรรมการ 22 คน ในคณะทำงานประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีอำนาจในหน้าที่อยู่ครบถ้วนแล้วทั้งการจัดการวิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม  รัฐบาลจะรับปากว่าสามารถทำได้เสร็จทันหรือไม่

เรื่อง ของกรมประชาสัมพันธ์หรือสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งรัฐบาลควรปฏิรูปอย่างจริงจัง ในสมัย นายกฯ สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยเกือบยุบกรมประชาสัมพันธ์ แล้วทำหน้าที่แค่ประชาสัมพันธ์หน่วยงานของรัฐ ต้องคืนคลื่นหรือไม่ แต่เข้าใจว่ารัฐเองต้องมีเครื่องมือของรัฐ แต่ไมใช่เครื่องมือของรัฐบาล จึงอยากทำความเข้าใจส่วนนี้ เพราะฉะนั้นแนวทางคือการปฏิรูปกรมประชาสัมพันธ์   ช่อง 11 ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของพระราชกฤษฎีกา หรือพ.ร.บ.ต้องทำให้มีความชัดเจน เพราะหากเป็นรัฐบาลทรราชแล้วจะเกิดปัญหา เช่นเดียวกับที่ภาคประชาชนเคยเจ็บปวด

กรณี อสมท.เป็นประเด็นที่ต้องคิดว่า ยังใช้รูปแบบเดิม คือเปลี่ยนบอร์ดบริการไป การเมืองหน้าใหม่ก็เปลี่ยนบอร์ดใหม่อีก จึงเกิดปัญหาขึ้นอีก เป็นคำถามที่รัฐบาลต้องคิด และเดินมาได้ครึ่งทางแล้วจึงอยากให้ทำให้จบ และดึงการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะกฎหมายที่ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ อยากให้นายกฯ ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 คณะ และมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ วิชาการ เข้ามาทำให้แล้วเสร็จ และกำหนดต่อสังคมว่ามีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เช่นจะปรับปรุงช่อง 11 ต้องให้เวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน

– นายกฯ – เป็นข้อเสนอที่จะรับไว้ เพื่อไปพิจารณาและพยายามเร่งดูในเรื่องของกลไกต่างๆ
ส่วนเรื่องรูปแบบของช่อง 11 หรือกรมประชาสัมพันธ์ ได้คิดกันมาหลายรัฐบาล ผมเองเป็นผู้ที่ทำกฎหมายองค์การมหาชนไว้ เพราะไม่ชอบรูปแบบนี้อยู่แล้ว แรกๆ จะถูกต่อต้านเยอะ เวลาจะพูดว่าจะให้ใครเป็นองค์การมหาชน ก็จะใช้เวลาในการทำให้เห็นภาพว่าข้อดีของมันคืออะไร และจะได้ดำเนินการต่อไป

– ปราโมทย์ – การทำงานของนายกฯ มีเส้นแบ่งระหว่างชีวิตของการเป็นนายกฯ และชีวิตครอบครัว อยากทราบว่าจุดยืนที่แท้จริงของเรื่องนี้อยู่ตรงไหน ในการที่สื่อเข้าไปให้ความสนใจ ต้องการให้สื่อติดตามชีวิตครอบครัวของนายกฯมากน้อยแค่ไหน

– นายกฯ – หากให้ตอบตรงๆ คือไม่ต้องการ แต่ก็เข้าใจธรรมชาติของสังคม และเข้าใจในธรรมชาติของสื่อ ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือพอสมควร พยายามจะกำหนดเส้นแบ่งอยู่ อย่างน้อยที่สุดคือบ้านผมเล็กมาก หากสื่อเฝ้าอยู่ที่บ้านผมจะไม่มีที่อยู่ เพราะฉะนั้นการรักษาความเป็นส่วนตัวในตอนนี้ผมพอใจ อาจมีการส่งคนมาสอดแนมว่าผมออกจากบ้านไปหรือยัง แต่ก็ไม่ได้กระทบกับชีวิตส่วนตัว ส่วนภรรยาและลูกของผมไม่ประสงค์อยากเป็นข่าว ไม่อยากเป็นบุคคลสาธารณะไปด้วย แต่ในบางกรณีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นการไปเลือกตั้ง โดยใจผมแล้วเห็นว่ามาตรฐานอย่างนี้ถ้าใช้ได้กับบุคคลสาธารณะท่านอื่นด้วยก็ ดี แต่มีข้อแม้ว่าบุคคลในครอบครัวต้องไม่ได้เป็นผู้ที่แอบเล่นการเมือง ไม่เช่นนั้นสื่อมีสิทธิ์ทุกอย่างที่จะตรวจสอบ คือที่เป็นอยู่นี้สามารถยอมรับกันได้

– ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก – เรื่องสื่อของรัฐ นายกฯ ได้มองไว้หรือไม่ว่า ตามกรอบกฎหมายมีลักษณะที่สามารถตีความได้ ว่าที่จริงแล้วสื่อของรัฐทั้งหมดต้องมีการคืนกลับ และมาพิจารณาตามความจำเป็นอีกครั้งหนึ่ง ท่านนายกฯ ได้มองการดำเนินการในลักษณะนั้นไว้หรือไม่

ส่วนเรื่องวิทยุชุมชน ประเด็นปัญหาที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ที่กฎหมายที่ขัดกัน แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานวิทยุชุมชน และผู้กำกับดูแลในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์มีความเข้าใจกฎหมาย ตรง ชัด หรือพยายามทำให้กฎหมายเป็นตัวปัญหา ถ้าหากกฎหมายไม่ได้เป็นตัวปัญหา ในส่วนของท่านนายกฯ สามารถดำเนินการให้วิทยุชุมชนสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายที่เขาได้รับการรับรอง อยู่แล้วตั้งแต่รัฐธรรมนูญ

ส่วนโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก รวมถึงโทรทัศน์ดาวเทียม ซึ่งคิดว่ามีประเด็นปัญหาอยู่พอสมควร ไม่แน่ใจว่าการกระทำมี่ผ่านมาภายใต้กรอบกฎหมาย ซึ่งคิดว่าไม่สามารถดำเนินการได้หากมองเพียงกฎหมาย ดังนั้นในรัฐบาลของท่านจะคลี่คลายกฎหมายที่เรื้อรังอย่างไร

และ ส่วนเรื่อง 3G ข้อความสั้น เรื่องวิทยุโทรทัศน์ โทรคมนาคม ที่มีส่วนเชื่อมโยงกันนั้น หากเราไม่สามารถมีกรรมการเข้ามากำกับดูแลได้ ปัญหาเหลานี้ยังเป็นปัญหาที่เราคิดว่าปัญหา การที่ท่านนายกฯ มองว่าจะรวมหรือจะแยก ไม่เป็นไร แต่วันนี้รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ว่าให้รวม ดังนั้นเมื่อรวมแล้ว การจัดการเรื่องผลประโยชน์ที่เดิมทีแยกกันอยู่ กรรมการจะสามารถดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด

– นายกฯ – ผมได้พูดไปแล้วว่าหลัก ต้องการให้กลับมาสู่การจัดสรรตามเจตนารมณ์ แต่สภาพวันนี้ไปสู่จุดนั้นสะเทือนไปถึงคนจำนวนไม่น้อย และผมบอกว่า เราคงจำเป็นต้องดูว่าผลประโยชน์ของหน่วยงานที่จะสูญเสียอย่างไร หากหาคำตอบได้ ก็สามารถเดินไปสู่จุดนั้นได้ แต่หากไม่หาคำตอบนี้แล้วพยายามเดินไปจะสำเร็จได้ยาก และผมเชื่อว่านี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ไม่เคยสำเร็จ เพราะคิดกันเฉพาะขาว-ดำ ฝ่ายหนึ่งคือทำอย่างไรให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ อีกฝ่ายหนึ่งคือคิดว่าล้างกันใหม่หมด โดยไม่สนใจว่าสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร จึงเดินไปไม่ได้ เพราะยื้อกันอยู่อย่างนี้

ส่วนเรื่องวิทยุชุมชน หากคิดว่ากฎหมายชัดก็สามารถทำความเห็นมาถึงผมได้เลย เพราะผมก็เป็นนักกฎหมายเช่นกัน และรู้ว่าหากกฎหมายไม่มีปัญหา เราก็จะไม่มีนักกฎหมาย เป็นธรรมดาที่เรามอง เมื่อมีคนใช้ หรือใช้ในทางที่ผิด กลายเป็นบรรทัดฐานขึ้นมาจะมีประเด็นอยู่ แต่ยินดีรับฟังความเห็นทางด้านกฎหมายที่เราเป็นห่วงอยู่

นอกจาก นี้เรื่องโทรทัศน์บอกรับสมาชิก ยังค้างอยู่ที่ศาลปกครอง เมื่อไหร่ที่ศาลตัดสินออกมา ก็จะเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่ง หากจะทำไรก่อนก็เป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยออกมา และเชื่อว่าหลายคนไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ได้แต่หวังว่าตรงนั้นจะออกมาเร็ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าที่สุดแล้วอะไรที่สามารถทำได้ และไม่สามารถทำได้

ส่วนการรวมกรรมการเข้าด้วยกัน เนื่องจากผมเห็นด้วยตั้งแต่ต้น แต่เนื่องจากผลประโยชน์มหาศาล ก็ต้องมาดูแลทำให้เกิดขึ้นให้ได้ และคิดว่าบททดสอบที่สำคัญคือตัวกฎหมายวิทยุโทรทัศน์ ที่ต้องเร่งผลักดันออกมาในลักษณะที่เป็นที่ยอมรับ ถือเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก เพราะว่าแม้เห็นตรงกัน คือผมเน้นจุดที่เราเห็นตรงกัน ในเรื่องของการปรับปรุงกฎหมายที่กระทรวงไอซีทีเสนอไว้ แต่ในระหว่างที่พรรคมาทำยังพบว่ามีช่องว่างอยู่ระหว่างองค์กรเอกชน และภาคประชาสังคมที่ยังอยากได้อะไรมากกว่านั้น ในขณะที่พรรคมองว่าการกระโดดไปทำตรงนั้นอาจเป็นการสร้างปัญหาใหม่เพิ่มขึ้น แต่ผมคิดว่า อย่าให้ความต้องการสิ่งที่สมบูรณ์ทำให้เราไม่ได้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สิ่งที่ไม่สมบูรณ์เราก็อยากได้สิ่งที่สมบูรณ์กว่า ยื้อกันไป ยื้อกันมา สิ่งที่ดีก็ไม่ได้เกิดไปด้วย จึงอยากฝากว่าถ้ามีอะไรที่รับกันได้ เป็นการเดินไปข้างหน้าพอสมควร รับตรงนั้นไว้ก่อนแล้ววันข้างหน้าจึงมาเดินหน้ากันก่อน

– สุวัฒน์ ทองธนากุล –
 เรื่องสื่อของรัฐมีความน่าสนใจ จะพูดถึงสารประโยชน์ที่อยากให้เกิดขึ้น และหลักการคุณธรรมที่อยากให้เกิดนั้น คิดว่าสังคมมีความเบี่ยงเบนไปเยอะ เพราะฉะนั้นบทบาทสื่อของรัฐที่จะเกิดขึ้นจริงไม่เพียงแต่การตั้งความหวัง อยากให้เป็น จะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการในเชิงของการรณรงค์ การขับเคลื่อนโดยการสนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดขึ้นจริง ท่านนายกฯ ความคิดจะทำอย่างไร เพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นจริงในการหล่อหลอมสร้างสังคมไทยตั้งแต่เด็ก – ผู้ใหญ่ ให้เป็นพลเมืองดีในอนาคต

– นายกฯ –
 ต้องอาศัยคนที่ทำงานด้านสื่อ ว่าผลิตรายการอย่างที่เราอยากผลิตไม่ยาก แต่ผลิตให้มีคนดูนั้นยาก เพราะฉะนั้นหากคิดว่ารายการในอุดมคติเป็นอย่างนี้ แต่หากไม่มีคนดูก็เหมือนไม่ได้ทำ จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะฉะนั้นรูปแบบที่จะทำ ฝ่ายที่ให้นโยบายควรให้แค่โจทย์ แต่คนทำต้องเป็นคนที่เข้าใจ พฤติกรรมของผู้บริโภค หากไม่มี 2 ตัวนี้มาคู่กันก็เป็นเรื่องยาก จึงเป็นหลักคิดว่ารูปแบบองค์กร และวิธีการดึงและได้มาซึ่งความเป็นมืออาชีพนั้น และนับเป็นความยากจริงๆ และเชื่อว่านในต่างประเทศ แม้แต่ในอดีตที่เรายกย่องว่าเป็นแบบอย่างที่ดี นับวันเขาก็รู้ว่ามันยากขึ้น เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป และหากส่วนใหญ่ เริ่มมีโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกจะมีพฤติกรรมที่สามารถเลือกดูสิ่งที่อยากดู ได้ และสิ่งที่เคยพูดไว้ว่าหากลักษณะของการมีสื่อที่มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าอยู่ ฝ่ายไหน แล้วคนในสังคมแยกกันดูแล้วการจะผูกให้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นเรื่อง ยาก เพราะสิ่งที่จะผูกให้คนทุกคนอยู่ด้วยกันคือการได้รับข้อมูลข่าวสารที่อย่าง น้อยที่สุดคือคล้ายๆ กันอาจคนละมุมบ้างแต่ไม่ใช่คนละโลก จึงยอมรับว่าหนักใจในการที่จะปฏิรูปองค์กรอย่างเช่นช่อง 11 ถือเป็นโจทย์ที่สำคัญ

– สมชาย แสวงการ – มีพ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ ที่แบ่งประเภทชัดเจนว่าเป็นสถานโทรทัศน์เพื่อความมั่นคง สถานีวิทยุเพื่อความเข้าใจระหว่างรัฐกับประชาชน ชัดเจนหากจะจัดการ ส่วนที่ 2 คือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ท้องถิ่นที่ปล่อยให้เอกชนท้องถิ่นเข้ามาทำ ส่วนที่ 3 คือวิทยุชุมชน ซึ่งกรอบกฎหมายเดินมาครึ่งทางมีตัวประกอบกิจการแล้ว แต่ขาดองค์กรกำกับ จึงฝากท่านนายกฯ และอยากทราบระยะเวลาว่ากี่เดือน

– นายกฯ – ถ้า พูดถึงเวลา สมมติต้องมีกฎหมายคงต้องขอถึงสมัยประชุมที่ 2 ที่เป็นสมัยนิติบัญญัติ คิดว่าโอกาสที่จะได้ในสมัยแรกยาก ดีที่สุดคือสามารถเสนอเข้าไปได้   ดีกว่านั้นคือสามารถรับหลักการ แต่หากเป็นสมัยที่ 2 เป็นสมัยนิติบัญญัติจะง่ายขึ้น ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม

– วิสุทธิ์ คมวัชระ – ท่านนายกประกาศว่าจะไม่แทรกแซง คุกคามสื่อ ดังนั้นท่านนายกฯ เคยถูกสื่อแทรกแซงหรือคุกคามหรือไม่ และเคยคุยกันเรื่องเวลาถ่ายทอดวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์ที่จะยกเลิกหรือไม่ ไม่ทราบว่าตอนนี้ท่านนายกฯ มีนโยบายเรื่องการถ่ายทอดข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศอย่างไร

– นายกฯ –
 เรื่องการคุกคามไม่มีอะไรมากเป็นเรื่องปกติของนักข่าวกับนักการเมือง
ส่วน เรื่องการถ่ายทอดข่าวของกรมประชาสัมพันธ์ปัจจุบันเหลือ 2 ช่วงเวลา 7 โมงเช้า กับ 2 ทุ่ม โดยส่วนตัวยอมรับว่าได้ฟังน้อย แต่ทราบว่าในชนบทฟังเยอะ แต่ขณะนี้เขามีทาวเลือกจากคลื่นที่ได้ถ่ายทอดมาในรูปแบบต่างๆมากขึ้น และผมเชื่อว่าพอสังคมเติบโต วงการสื่อก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เรื่องที่ทุกคนควรรับรู้น่าจะเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เช่นเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญๆ สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องแย่งกันเสนอข่าวโดยไม่มีการบังคับ แต่ต้องขอเวลาไปศึกษาเรื่องดังกล่าวสักระยะ เพราะยังมีข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ ที่ได้เสนอในช่วง 7 โมง หรือ 2 ทุ่ม

[/wptab]

[end_wptabset]