TRENDING KEYWORD 2565

บทความจาก จดหมายเหตุ ฉบับเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2565

Google ได้เผยข้อมูล Google Trending Searches คำค้นหายอดนิยมของปี 2565 โดยเปิดเผยคำค้นหา หรือ คีย์เวิร์ด (Keyword) ที่คนไทยให้ความสนใจ จากกลุ่มหมวดความสนใจ อาทิ สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร บันเทิง บุคคล และข่าว ซึ่ง 10 อันดับคำค้นหาประจำปี 2565 มีดังนี้

  1. บัตรสวัสดิการแห่งร้ฐ
  2. แตงโม นิดา
  3. คนละครึ่ง เฟส 5
  4. ใต้หล้า
  5. คังคุไบ
  1. Botnoi Voice
  2. Wordle
  3. ด้วยรักและหักหลัง
  4. คือเธอ
  5. ศธ 02

จากคำค้นหายอดนิยม 10 คำนี้ หากนำคำค้นหาทั้งหมดนี้ ไปสร้างขยาย เชื่อมคำประโยค หรือ เชื่อมต่อคำอื่น ๆ เข้าไป สามารถให้ความกระจ่างชัดในเรื่องที่ผู้คนสนใจ ตลอดจนเชื่อมโยงไปกับพื้นที่ข่าวสารของสื่อมวลชน และกระแสความสนใจของสังคมในช่วงเหตุการณ์สำคัญตลอดทั้งปี 2565 โดยเฉพาะเรื่องราวของการเสียชีวิตของนักแสดงสาว “แตงโม นิดา” ที่เป็น TRENDING NEWS อันดับ 1 ของกลุ่มข่าว จากการค้นหาของกลุ่มผู้ใช้ หรือ ผู้ที่สนใจประเด็นข่าวสาร โดยพิมพ์ตัวอักษรเข้าไปในช่องค้นหาด้วยคำว่า “ข่าวแตงโมล่าสุด”ซึ่งคำค้นหาในแบบนี้ ได้บอกถึง พฤติกรรมการติดตามข่าวสารของผู้บริโภคกับการเกาะติดสถานการณ์ข่าวของสังคมไทย ที่ต่างสนใจความคืบหน้ากับความต่อเนื่องการสืบสวนเหตุการณ์พลัดตกเรือจนเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

ความสนใจ นอกจากข่าวแตงโมนิดา กับ 10 อันดับข่าวความสนใจ
  1. ข่าวแตงโมล่าสุด
  2. ข่าวกราดยิง
  3. ข่าวพระบิดา
  4. ข่าวรัสเซีย ยูเครน ล่าสุด
  5. ข่าวลุงพลล่าสุด
  6. ข่าวพิ้งกี้
  7. ข่าวอิแทวอน
  8. ข่าวหลวงปู่แสง
  9. ข่าวลาซาด้า
  10. ข่าวรองหัวหน้าพรรค

จาก 10 อันดับความสนใจข่าว สามารถอธิบายถึงความสนใจของคนไทยกับการติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถึงความคืบหน้า จนถึงการติดตามสถานการณ์เหตุต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และ “ข่าวอิแทวอน” โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นใจกลางกรุงโซล

ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง กับ คำค้นหาเกี่ยวกับ โควิด-19 หรือ วัคซีน ซึ่งเป็นหนึ่งเรื่องความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตจากภัยระบาด กลับเป็นคำไม่ได้ถูกผู้ใช้งานออนไลน์ พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับโควิด – 19 ติดโผอันดับความนิยมในการค้นหา เสมือนว่า เรื่องดังกล่าวได้คลี่คลายลง ประชาชนเข้าใจ ได้รับทราบข่าวารที่ถูกอัพเดทจากผู้ที่เกี่ยวข้องที่ประเมินสถานการณ์จนเสมือนเป็นเรื่องประจำวัน และรับมือต่อการระบาดที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น

นอกจากกลุ่มข่าว กลุ่มคำบุคคล คำสืบค้นในกลุ่ม TRENDING HOW TO วิธีทำ การทำ เรื่องต่าง ๆ 10 อันดับความสนใจในปี 2565

ความสนใจในปี 2565
  1. วิธีตรวจ ATK
  2. วิธีลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 
  3. วิธีรักษาโควิด
  4. วิธีเล่นรูบิค
  5. วิธีทำข้าวเหนียวมูนมะม่วง
  6. วิธียืนยันสิทธิ์คนละครึ่ง เฟส 5 
  7. วิธีพับกลีบกระทง
  8. วิธีผูกเนคไท
  9. วิธีรักษาโรคมือเท้าปาก
  10. วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2565

กลุ่มความสนใจกลุ่มนี้ หากนำไปศึกษาในช่วงปีย้อนหลัง แล้วนำมาผสมผสานใหม่ โดยการนำไปต่อยอดชิ้นงานใหม่ หรือ นำชิ้นงานเก่ามาปัดฝุ่น แก้ไขอัพเดท แล้วปรับการพาดหัว จนถึงการอัพเดทสถานการณ์ ความคืบหน้า จากเหตุการณ์ หรือ ข่าว ที่เคยได้รับความสนใจ ที่มาปัดฝุ่น ให้เกิดกระแสความสนใจ และให้ผู้ติดตามได้อัพเดท มีความล่าสุด สอดรับกับคำสืบค้น “ล่าสุด” ได้อีกด้วย

จากคำค้นหา ใน “คำ” ต่าง ๆ ทั้ง คำสั้น คำเชื่อม คำเฉพาะ ชื่อนาม ชื่อบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับข่าว หรือ ประเด็นข่าว ที่ประชาชนไทยให้ความสนใจจากพื้นที่สื่อ หรือ การเล่าเรื่องของผู้คนพลเมืองออนไลน์บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมต่าง ๆ ในปี 2565 ล้วนมีความหมายที่สื่อมวลชน จนถึงกองบรรณาธิการ นำมาศึกษา พัฒนาต่อยอดความสร้างสรรค์เนื้อหา จุดขายประเด็นจากคำค้นเหล่านั้น มาสนับสนุนงานสื่อข่าวให้เกิดมูลค่า หรือ คุณค่า กับข่าวที่คัดสรรมานำเสนอบนพื้นที่สื่อของตนเอง รวมถึงการนำเสนอข่าวในเชิงกลยุทธ์ให้สอดรับต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวของคนไทย ที่มีความหลากหลาย และเข้าถึงสื่อ มากกว่าการเลือกรับสื่อแบบใดแบบหนึ่ง แพลตฟอร์มใดแฟลตฟอร์มหนึ่ง หรือ การถูกนำไปเปรียบเทียบกับสื่อผู้ผลิตรายใหม่ ที่เป็นสื่อพลเมือง หรือ นักสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creator:คอนเทนต์ครีเอเตอร์) ที่วันนี้กลายเป็น หัวเชื้อในงานข่าว ให้นักข่าวมืออาชีพต้องมาแกะประเด็น ขยายเรื่องราวให้กระจ่างชัด

เมื่อ “ข้อมูล” ค่าความนิยมของกลุ่มผู้ใช้เสพบริโภคข่าวสาร จากช่องทางบริการสืบค้นข้อมูลการเข้าถึงเว็บไซต์ เครือข่ายเนื้อหาจากทุกแหล่งบนอินเทอร์เน็ต ผ่านกระบวนการ จำแนก รวบรวม คัดสรร ของการใช้งานคำค้นหาเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ค้นหาโดยใช้ประโยค ค้นหาเว็บที่มีเนื้อหาใกล้เคียง ค้นหาคำใน Title หรือ คำพาดหัว ประโยคนำ จนถึงการแสดงผล “คำ” ที่คนเลือกค้นหามาก คำที่ผู้นิยม คำที่คนให้ความสนใจ นำ “คำ” “ประโยคคำ” ที่คนเองสนใจมาใส่เพื่อค้นหา ซึ่งคำค้นหาเหล่านี้สามารถบอกถึงกระแสความสนใจ ความนิยม จากประเด็นที่เชื่อมโยงจากคำ หรือ ประโยคที่เกี่ยวข้องต่อสิ่งที่จะค้นหา หาก ผู้สื่อข่าว หัวหน้าข่าว หรือ ฝ่ายบริหารงานข่าว นำมาต่อยอด ผสมผสานข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่า จัดกลุ่ม คัดสรร สานต่อ สร้างสรรค์ใหม่ ให้  เกิดเป็น ข่าว บทความ หรือเรื่องราวที่จะสร้างเป็นชิ้นงานไม่ว่าในรูปมีเดียต่าง ๆ ทำให้ข่าว ไม่ซ้ำกับผู้ผลิตคู่แข่ง แต่ยังสร้างคุณค่าข่าว มิติข่าว ในกระบวนการนำเสนอข่าวในแบบเจาะลึก มากกว่า ขับเคลื่อนไปตามวาระกำหนดของใคร ยังจะทำให้สร้างเนื้อหาข่าวที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ไปกับการให้ทางออกจากประเด็นข่าวมากกว่าเดิมได้ด้วย

และในอีกไม่ช้านาน  เทรนด์ใหม่ ในการสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ ที่จะต่อยอดจากคำสืบค้น กับ “ChatGPT” Chat Generative Pre-trained Transformer  โปรแกรมด้านการประมวลผลภาษา ที่ระบบสามารถช่วยเหลือตั้งแต่การแต่งเรียงความ เขียนจดหมาย การแปลภาษา การตอบคำถาม  โดยประมวลข้อมูลด้วยระบบ AI จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ใช้เทคนิคแบบ Deep Learning แล้วกรองเนื้อหาออกมา ที่สามารรถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที จากเนื้อหาที่ได้สรุปเรียบเรียง จากประโยคที่ตั้งคำถามเข้าไป จัดเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาท้าทาย และเป็นเครื่องมือใหม่ให้แก่นักข่าว นักสื่อสารมวลชน ในการที่จะสร้างเนื้อหาใหม่ ให้สอดรับกับจริตของคนไทย ไปจนถึงการถ่ายทอดเนื้อหาไปยังผู้คนในโลกใบนี้ ที่เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารอินเทอร์เน็ต


อ่านบทความอื่น ๆ ในจดหมายเหตุได้ที่ >>> Click here