จดหมายข่าวประจำเดือนมี.ค – เม.ย 52

[wptab name=’จดหมายข่าวประจำเดือนมี.ค – เม.ย 52′]

คณะผู้จัดทำแถลง

จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ฉบับนี้เป็นของเดือนมีนาคม-เมษายน คณะทำงานได้มีการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าบ้างเล็กน้อย เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนเนื้อหาสาระในเล่มฉบับนี้จะมีภาพของกรรมการและประธานอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ซึ่งมาจากกรรมการแต่ละประเภท เพื่อให้สมาชิกของเราได้เห็นหน้าเห็นตาตัวแทนของท่านที่เข้ามาทำหน้าที่ ในภาพส่วนรวมของวงการสื่อ สำหรับเนื้อหาอื่นได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สมาชิกได้สาระที่มีประโยชน์ มากขึ้น

นอกจากนั้นยังเปิดใจท่านประธานสภาฯ คนใหม่ถึงนโยบายการทำงานที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมีประสิทธิภาพ และล่าสุดยังมีแนวปฏิบัติในการเดินทางไปทำข่าวต่างประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ของคณะกรรมการสมัยที่ 6 หากสมาชิกจะมีข้อเสนอแนะหรือมีข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม กรุณาส่งตรงไปยังสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อคณะผู้จัดทำจะได้นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับผู้อ่านต่อไป

อย่างไรก็ตามการทำหนังสือของคณะทำงานจะพยายามนำเอาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ มาเผยแพร่ให้กับสมาชิกมากที่สุด หากสมาชิกจะมีข้อมูลข่าวสารจะให้ประชาสัมพันธ์ ส่งตรงมายังสภาการฯหรือทางE-MAIL ก็ยินดีเป็นสื่อกลางให้ โดยเฉพาะ MAIL ของเราจะมีการพัฒนาให้สมาชิกและบุคคลภายนอกรู้จักรมากขึ้น คณะผู้จัดทำกำลังดำเนินการประสานงานอยู่ ฉบับหน้าพบกัน

ประธานอนุเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

[/wptab]

[wptab name=’สัมภาษณ์พิเศษ ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ’]

สัมภาษณ์พิเศษ ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ

ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

เปิดใจครั้งแรก ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติคนใหม่ “ต้องรักษาสถานภาพองค์กรอิสระเพื่อควบคุมกันเองไว้ต่อไป”

คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติชุดใหม่ สมัยที่ 6 ได้รับมอบงานจากคณะกรรมการชุดก่อน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมา และจะมีวาระการดำรงตำแหน่งไปอีก 3 ปีเติม โดยที่ผ่านมา และคณะกรรมการชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องไปทันที โดยมีการประชุมคณะกรรมการเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมพิจารณา วินิจฉัย หรือริเริ่มงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ “ปราโมทย์ ฝ่ายอุประ” ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” มีมุมมองต่อการทำงานของคณะกรรมการชุดใหม่

ก่อนหน้าที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มองบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ อย่างไร

มองว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ถือกำเนิดมาตามรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมกันเอง เพื่อดูแลกันเองของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ และส่งเสริมเสรีภาพ รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ เรียกว่าเป็นองค์กรที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาแทรกแซง แต่ต้องการให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านหนังสือพิมพ์ ดูแลกันเอง ไม่ให้ใครเข้ามายุ่งเกี่ยว เพื่อให้มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ จากสิ่งที่ได้มองเห็นจึงอยากเข้ามาช่วยทำงานทางด้านนี้ ในการสนับสนุน ส่งเสริมการใช้สิทธิของหนังสือพิมพ์เพื่อการรับรู้นั้น เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับองค์กรของเรามากขึ้น

เมื่อเข้ามารับตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์ฯ แล้วมองบทบาทหน้าที่ เป็นไปตามที่มองไว้แต่แรกหรือไม่ อย่างไร

ก็ต้องเป็นอย่างนั้น เพราะว่าสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมา 12 ปีแล้ว เป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ถือว่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ได้พอสมควร และที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้แก่ประชาชน ให้ความร่วมมือกับองค์กรสื่อต่างๆ และเรื่องการรับเรื่องร้องทุกข์ ที่ประชาชนท่านไหนที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถร้องเรียนกันมาได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งหนึ่งในการทำงานของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ

ในขณะที่ยังไม่ได้มีการกำหนดแผนการทำงานร่วมกับคณะกรรมการท่านอื่นๆ นั้น ส่วนตัวของคุณปราโมทย์ได้วางร่างโครงการ แผนงาน ที่จะต้องทำต่อไปคืออะไรบ้าง

ความคิดส่วนตัวที่อยากจะเห็นนั้น เรื่องแรกคงจะเป็นเรื่องความร่วมมือ เรื่องการสนับสนุนจากองค์กรสื่อต่างๆ เพราะว่าเรามีองค์กรสื่อมากพอสมควร สมาคมสื่อต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะหนังสือพิมพ์อย่างเดียว แต่รวมถึงวิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต ด้วย ซึ่งอยากให้มีการสนับสนุน การร่วมมือ การดำเนินงานให้แน่นแฟ้นให้เป็นเอกภาพกัน
ประการถัดมา คือ เรื่ององค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสื่อ อยากจะให้การสนับสนุนให้เข้ามามีบทบาทร่วมกันในการตรวจสอบสื่อ ซึ่งจะทำให้องค์กรสื่อที่เป็นสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ทำหน้าที่ได้อย่างภูมิใจ พร้อมที่จะได้รับการตรวจสอบได้ตลอดเวลา

อีกอย่างคือ การรักษาสถานภาพการเป็นองค์กรอิสระควบคุมกันเองให้ได้ตลอดไป เพราะว่าดูสถานการณ์บ้านเมืองของเราในขณะนี้มีการเคลื่อนไหวมากมาย ไม่รู้ว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไร อาจจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ และเขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่งแต่ละครั้งก็จะส่งผลมากพอสมควร ซึ่งแน่นอนว่ารัฐเองก็อยากที่จะเข้ามาควบคุมองค์กรของเรา แต่เราเองไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม เพราะฉะนั้นเป้าหมายของเราจึงพยายามที่จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามา เราจะขอเป็นองค์กรอิสระเช่นนี้ต่อไป

นอกจากนี้ที่คิดไว้คือการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่องค์กรสมาชิก ทำให้สมาชิกทั้งหลายมีความสัมพันธ์ มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น พัฒนาองค์กรของเราให้เป็นที่ยอมรับของสมาชิกมากขึ้น และต้องสร้างให้ประชาชนทั่วไปยอมรับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มากขึ้น ว่าหากมีปัญหาก็สามารถมาร้องเรียนได้ มาพึ่งพิงได้ อีกอย่างคือการส่งเสริมอาชีพของมวลสมาชิก การฝึกอบรม การสัมมนาทางวิชาการต่างๆ อาจจะมีรางวัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านจริยธรรม นอกจากนี้เรื่องความสัมพันธ์กับสื่อต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่สำคัญ นโยบายอันหนึ่งที่คิดว่าอย่างไรเสีย ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการวางกรอบอะไรชัดเจนนัก ที่เราจะวางแผนระยะสั้นระยะยาวในการที่จะพัฒนาสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และคิดว่าเรื่องขององค์กรสื่อก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องขยายออกไปให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น หรือมีการร่วมมือกันมากขึ้น

ขณะนี้ที่ยังไม่ได้มีการกำหนดแผนการทำงานร่วมกันนั้น ได้ดำเนินการสานต่องานจากคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สมัยที่ 5 อย่างไรบ้าง

เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ถ้าเป็นเรื่องงานประจำ ที่คณะกรรมการชุดที่แล้วทำไว้ ที่คั่งค้างเอาไว้ ที่รับมานั้นก็มีคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ก็รับมา และพร้อมที่จะสานงานต่ออย่างเต็มที่อยู่แล้ว และหากมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นมา และคิดว่าน่าจะสรุปออกมาได้ในเร็วๆ นี้

ไม่ได้ติดขัดเรื่องใด และยังมีการดำเนินงานกันต่อไปเรื่อยๆ

ครับ

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2552 ได้มีการประกาศใช้แนวปฏิบัติเรื่องการรับเชิญผู้สื่อข่าวไปทำข่าวในประเทศ และต่างประเทศ

ครับ อันนั้นเป็นงานต่อเนื่องจากคณะกรรมการสมัยที่แล้วทำไว้ ซึ่งเราพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้สร้างความเสียหาย อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เราจึงขานรับแนวปฏิบัตินั้น โดยมีมติให้ดำเนินการต่อไป
ขณะนี้ แนวปฏิบัติเรื่องการรับเชิญไปทำข่าวในประเทศและต่างประเทศ อยู่ระหว่างการประกาศใช้ และเผยแพร่ให้องค์กรสมาชิกรับทราบ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป

[/wptab]

[wptab name=’สภา นสพ.เตือนระวังนักข่าวผี’]

สภา นสพ.เตือนระวังนักข่าวผี

สภาการหนังสือพิมพ์ฯเชิญชวนองค์กรสมาชิกเร่งทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว เพื่อใช้ยืนยันตัวตน โดยสังคมสามารถสอบทานย้อนกลับที่ฐานข้อมูลสมาชิกได้ที่เว็บไซต์ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อช่วยกันป้องกันผู้แอบอ้างสร้างความเสื่อมเสียแก่วงวิชาชีพ ทั้งยังป้องปรามสมาชิกไม่ให้ใช้สถานะไปแสวงประโยชน์โดยมิชอบ

ที่สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อบ่ายวันที่ 6 พ.ค.52 มีการประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6 ครั้งที่ 3 ภายหลังการประชุม นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้มีมติขอเชิญชวนองค์กรสมาชิกที่ยังไม่ได้ทำหรือที่ทำบัตรประจำตัวผู้สื่อข่าวของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ไปแล้ว แต่ยังไม่ครบทั้งหมด ขอให้ติดต่อมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ เพื่อขอทำได้เพิ่ม โดยบัตรดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการยื่นเรื่องขอประกันตัวในคดีความที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เช่น ฟ้องหมิ่นประมาท

โดยองค์กรสมาชิกที่ได้มาขอทำบัตรแล้วจำนวน 938 คน จาก 35 องค์กรสมาชิก ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีองค์กรสมาชิกทั้งหมด 56 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค 25 ฉบับ ส่วนกลาง 24 ฉบับ และนสพ.ในเครืออีก 7 ฉบับ ดังนั้นจึงมีองค์กรสมาชิกที่ยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวอีกมาก สภาการหนังสือพิมพ์ฯ จึงขอเชิญชวนองค์กรสมาชิกเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวในสังกัดยื่นความจำนงขอทำบัตรได้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ หมายเลขโทรศัพท์ 02-243-5697,02-668-9900 หรือ tpct@inet.co.th

นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้แสดงความห่วงใยต่อกรณีที่มีผู้แอบอ้างเป็นผู้สื่อข่าว หรือนักข่าวผี เรียกรับผลประโยชน์จากองค์กร บริษัท ห้างร้าน ในโอกาสต่างๆ เช่น งานฉลองครบรอบบริษัท หรืองานแสดงความยินดีอื่นๆ โดยอ้างว่าจะช่วยประชาสัมพันธ์งานให้ สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ขอแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานต่างๆ หากพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว ให้สอบถามมายังสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ผ่านช่องทางการติดต่อข้างต้น เพื่อตรวจสอบว่าเป็นผู้สื่อข่าวสังกัดองค์กรสมาชิกใด และสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะดำเนินการตามความเหมาะสม แต่หากไม่พบว่าเป็นผู้สื่อข่าวสังกัดใด ก็ขอให้องค์กร บริษัท ห้างร้านโปรดดำเนินการตามกฎหมาย

[/wptab]

[wptab name=’คอลัมน์ โลกรอบสื่อ’]

คอลัมน์ โลกรอบสื่

กลยุทธ์การเอาตัวรอดของสื่อในยามวิกฤติ “รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย”
โดย บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์

ยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ดชนิดที่ยังดำดิ่งหาก้นเหวไม่พบนี้ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กในแดนดินถิ่นอินทรีหงอยอเมริกาต่างพยายามหาหนทางที่สร้างสรรค์เพื่อความอยู่รอด จากที่เคยหันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวงเปิดฉากทำสงครามกันอย่างดุเดือดตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเพื่อชิงความเป็นเจ้ายุทธจักรในวงการนี้ ขณะนี้หนังสือพิมพ์คู่แข่งหลายฉบับกลับหันมาจับมือเป็นพันมิตรอย่างหลวมๆ เพื่อช่วยกันประคับประคองเอาตัวรอด  ถือเป็นกลยุทธ์ตาอินกับตานาร่วมกันสร้างตำนานใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้ตาอยู่ ซึ่งก็คือสื่อใหม่เช่นอินเตอร์เน็ตมาแย่งชิ้นปลามันไปเหมือนเช่นที่ทำมาตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การจับมือเป็นพันธมิตรอย่างหลวมๆนี้ มีขึ้นหลังจากหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับได้ใช้มาตรการรัดเข็มขัดจนเอวคอดกิ่วมาใช้ ตั้งแต่ลดจำนวนนักข่าว ลดเงินเดือน ตัดงบประมาณด้านการเดินทาง หรือยอมตกข่าวใหญ่ในบางพื้นที่เนื่องจากไม่มีนักข่าวประจำการที่นั่น หรืออาจถึงขั้นต้องปิดสำนักข่าวตามเมืองต่างๆ แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์การเงินกระเตื้องขึ้นมาได้

เหตุนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ในสหรัฐจึงจำเป็นต้องจับมือกันในหลายด้าน รวมไปถึงการร่วมกันทำข่าวประจำวันเช่นการแถลงข่าว เป็นต้น โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อข่าวหรือภาพข่าว เพียงแค่ให้เครดิตว่าได้นำข่าวหรือภาพข่าวมาจากฉบับใด อีกทั้งยังมีการตกลงอย่างไม่เป็นทางการว่าจะไม่ลอกข่าวจากที่อื่นที่อยู่นอกเหนือข้อตกลง รวมไปถึงการอาจเข้มงวดกวดขันในเรื่องการใช้ข่าวจากสื่อออนไลน์

ขณะนี้หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ 3 ฉบับในฟลอริดาใต้ได้จับมือเป็นพันธมิตรหลวมๆ แล้ว เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับในรัฐเมนและอีก 87 ฉบับในโอไฮโอ ขณะที่วอชิงตัน โพสต์กับเดอะซันในบัลติมอร์ได้ทำข่าวร่วมกันในรัฐแมรี่แลนด์มาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว

แน่นอน การจับมือเป็นพันธมิตรของหนังสือพิมพ์ครั้งนี้ ทำให้เสียงของผู้อ่านต้องเหือดหายไปส่วนหนึ่ง “นี่อาจจะเป็นสถานการณ์ในฝันในโลกที่สมบูรณ์พร้อม ซึ่งจะมีหนังสือพิมพ์แค่ 4-5 ฉบับที่จะทำข่าวประชาพิจารณ์ด้วยกัน แต่จะต่างกันตรงที่จำนวนเนื้อที่และข้อมูลเสริมหรือเพิ่มเติม อันจะทำให้แตกต่างกันออกไปแม้จะเป็นข่าวชิ้นเดียวกันก็ตาม”มาร์ค วู้ดเวิร์ด บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์บังกอร์ เดลินิวส์ ซึ่งได้จับมือเป็นพันธมิตรกับอดีตหนังสือพิมพ์คู่แข่งในรัฐเมนมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วให้ความเห็น ก่อนจะเสริมว่า “ความร่วมมือนี้ถือเป็นความสมยอมที่จำเป็น เพื่อจะรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรของเราพร้อมๆ กับการรับใช้ประชาชน”

หนังสือพิมพ์ ดัลลัส มอร์นิ่ง นิวส์ กับฟอร์ท เวิร์ธ ได้เริ่มจับมือเป็นพันธมิตรกันเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาในด้านการจัดจำหน่ายและการวางแผง ตามด้วยการแลกเปลี่ยนภาพและบทวิจารณ์ด้านดนตรี อีกทั้งเตรียมขยายความร่วมมือด้านอื่นๆ ให้มากขึ้นด้วย หลังจากมอร์นิ่ง นิวส์ ได้ลดเงินเดือนลง 13 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว นอกเหนือจากลอยแพนักข่าวราว 50 คน ส่วนหนังสือพิมพ์ฟอร์ท เวิร์ธ ได้ปรับลดนักข่าวลงถึง 2 ครั้ง รวมแล้วเท่ากับให้นักข่าวออกถึง10 เปอร์เซ็นต์

“เทียบกับโลกเมื่อทศวรรษที่แล้ว ถือเป็นโลกที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง” แกรี วอร์เทล บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ฟอร์ท เวิร์ธให้ความเห็น “ตอนนี้เราไม่มองว่าพวกเราเป็นคู่แข่งอีกต่อไป ส่วนคู่แข่งของเราได้เปลี่ยนไปกลายเป็นสื่อที่แตกแขนงออกไปทั่วประเทศรวมทั้งจากสื่อต่างประเทศ”

อย่างไรก็ดี การที่จู่ๆ คู่ปรับเก่าพลันจับมือเป็นพันธมิตรกันย่อมมีข้อตะขิดตะขวงใจกันบ้าง บ็อบ ม็อง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดัลลัสมอร์นิ่ง นิวส์ ยอมรับว่า “ช่วงที่เราต้องแข่งกันอย่างเอาเป็นเอาตายเหมือนเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เราไม่เคยคิดฝันมาก่อนว่าในที่สุดพวกเราจะต้องมาร่วมมือกันอย่างนี้ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน เหตุการณ์เปลี่ยน ก็พลอยทำให้มุมมองเปลี่ยนไปด้วย”

ทั่วทุกหนแห่งในไมอามี หนังสือพิมพ์เฮรัลด์ของแมคแคลตชีและเดอะ ปาล์ม บีช โพสต์ในเครือของค็อกซ์ เอนเตอร์ไพรซ์ อิงค์ ได้ใช้ข่าวร่วมกันมาก่อนและตอนนี้ได้ขยายวงไปที่ซัน -เซนติเนล ในเครือของทรีบูน โค ในฟลอริดาใต้ และหนังสือพิมพ์ในเครือของอี.ดับเบิลยู. สคริปป์ แถบเทรเชอร์ โคสต์

จอห์น บาร์โทเซค บรรณาธิการของโพสต์กล่าวว่าขณะนี้คู่แข่งใหญ่ที่สุดของตัวเองไม่ใช่ซัน-เซนติเนล หากแต่เป็นบรรดาเว็บไซต์ต่างๆและความรับผิดชอบในการป้อนข่าวให้ผู้อ่านให้ทันต่อเหตุการณ์

ขณะเดียวกัน ไมอามี เฮรัลด์และเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ไทมส์ ได้รวมฝ่ายผลิตเข้าด้วยกัน หลังจากที่ทั้ง 2 ฉบับได้ทยอยปลดนักข่าวออกตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ที่โอไฮโอ หนังสือพิมพ์โคลัมบัส ดิสแพตช์ ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่เจาะกลุ่มผู้อ่านข่าวเบสบอลในคลิฟแลนด์และซินซินนาติโดยเฉพาะ โดยให้อิสระแก่นักข่าวกีฬามากขึ้นในการเจาะข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ทั้ง 8 ฉบับที่พร้อมจะใช้ข่าวร่วมกัน เบน มาร์ริสัน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดิสแพตช์ปฏิเสธว่าการจัดการนี้ทำให้นักข่าวหมดแรงใจที่จะคิดจะทำข่าวเจาะพิเศษ

“พวกเราก็ยังคงแข่งขันกันในเรื่องการเพิ่มคุณภาพของข่าวและประสิทธิภาพของการทำงาน พวกเราก็ยังอยากจะเอาชนะฉบับอื่นและพวกเขาก็อยากจะเอาชนะเราเช่นกัน”

ความร่วมมือนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในวงการสื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น สื่ออื่นๆก็เลียนแบบอย่างบ้าง  เช่นโทรทัศน์ฟ็อกซ์ นิวส์กับเอ็นบีซีก็วางแผนจะแลกวิดีโอข่าวกันเช่นกัน ขณะที่สำนักข่าวเอพีซึ่งมีอายุยืนยาวมานานมาถึง 162 ปีนับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ 5 ฉบับในนิวยอร์กได้ตกลงจะร่วมกันลงขันออกค่าใช่จ่ายในการส่งนักข่าวไปทำข่าวสงครามที่เม็กซิโก ความร่วมมือนี้ได้ขยายไปสู่ความร่วมมือระดับโลก จนขณะนี้เอพีมีนักข่าวกว่า 4,000 คนประจำการในสำนักงานสาขา 240 แห่งในทั่วโลกก็ถูกบีบให้ต้องร่วมมืออย่างหลวมๆ ผ่านตลาดสมาชิกของเอพี โดยหนังสือพิมพ์ราว 600 ฉบับทั่วสหรัฐได้จับมือใช้ข่าว ภาพข่าวและกราฟิกร่วมกันโดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิกเพิ่ม

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความร่วมมือในรูปแบบใหม่นี้ช่วยให้หนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ สามารถทำกำไรได้มากขึ้น “การแบ่งปันข่าวและภาพข่าวเป็นหนึ่งในความพยายามของพวกเราที่จะช่วยกันอุดรอยรั่วบนเขื่อนใหญ่” เร็กซ์ โรเดส บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์เดอะซัน เจอร์นัลแห่งลูอิสตัน รัฐเมนให้ความเห็น “หนังสือพิมพ์จำนวนไม่ใช่น้อยต่างเผชิญกับการคุกคามทุกรูปแบบ จริงอยู่ การทำเช่นนี้อาจจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้นไป แต่เราก็พยายามทำเท่าที่ทำได้เพื่อให้มีความแตกต่างกันบ้าง ไม่ใช่เหมือนกันเป๊ะทุกตัวอักษรไป”

[/wptab]

[wptab name=’แถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก’]

แถลงการณ์ร่วมเนื่องในโอกาสวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก

เสรีภาพสื่อ ต้องร่วมลดความรุนแรง

ตามที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ประกาศให้วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก หรือ World Press Freedom Day เพื่อตอกย้ำเจตนารมณ์ และหลักการพื้นฐานของเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลก คือเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อให้ประชาชนของทุกประเทศได้ร่วมกันให้ความสำคัญกับการที่สื่อมวลชนจะต้องมีเสรีภาพ ซึ่งย่อมหมายถึงการที่ประชาชนจะมีเสรีภาพด้วย

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน และองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ตามรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวันเสรีภาพสื่อมวลชนดังกล่าว จึงมีขอเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ดังนี้

  1. รัฐบาลต้องไม่กระทำการใดๆ หรือมีพฤติกรรมที่เป็นการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่ปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่ออินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและวิทยุชุมชน-ท้องถิ่น หากพบว่า สื่อใดกระทำการละเมิดกฎหมาย ก็ต้องใช้กระบวนการทางกฎหมายดำเนินการอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ใช้วิธีการอื่นใดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  2. รัฐบาลต้องมีความจริงใจในการปฏิรูปกฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ของประชาชนและสื่อมวลชน รวมทั้งต้องยอมรับความหลากหลายของสื่อทุกประเภทในการนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นจากมิติต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
  3. นักการเมือง ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสมาชิก รวมทั้งคู่ขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการแสวงหาข่าวสารข้อเท็จจริง เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชน โดยทุกฝ่ายต้องยุติการยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังสื่อมวลชนด้วยวิธีการใดๆ รวมทั้งต้องยุติการใช้สื่อเพื่อโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคมขยายตัวมากยิ่งขึ้น
  4. สาธารณชนต้องมีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร  เปิดใจให้กว้างในการรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ พึงระมัดระวังในการรับข้อมูลของสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่นำเสนอข่าวสารด้วยความลำเอียง มีอคติ และยั่วยุให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกจนอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในแก้ไขปัญหาทางการเมือง
  5. Top of Form
  6. สื่อมวลชนทุกแขนง โดยเฉพาะสื่อที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองต่างๆ  ต้องไม่นำเสนอข่าวที่ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง และนำไปสู่ความรุนแรง โดยขอให้ยึดมั่นการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ที่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง รอบด้าน ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และไม่เน้นการแข่งขันในเรื่องความรวดเร็วในการเสนอข่าว เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน และความเข้าใจผิดต่อสถานการณ์

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและองค์กรพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ขอยืนยันว่า เสรีภาพในการนำเสนอข่าวและความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย การกระทำใดๆ ไม่ว่าเป็นจะเกิดจากฝ่ายใด ที่กระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้

แถลง ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
3 พฤษภาคม 2552 

  • สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  • สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
  • สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
  • สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ
  • สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย
  • สมาคมเคเบิลทวีแห่งประเทศไทย
  • Bottom of Form

[/wptab]

[wptab name=’รายนามคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6′]

รายนามคณะกรรมการ ที่ปรึกษา และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6

คณะที่ปรึกษา

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1
ดร.อิสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ที่ปรึกษา
2
ศ.นพ.ประเวศ วะสี
ที่ปรึกษา
3
นายมานิจ สุขสมจิตร
ที่ปรึกษา
4
นายสมชาย กรุสวนสมบัติ
ที่ปรึกษา
5
ดร.อัมมาร สยามวาลา
ที่ปรึกษา
6
พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร
ที่ปรึกษา
7
คุณหญิงอัมพร มีศุข
ที่ปรึกษา
8
นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร
ที่ปรึกษา
9
นางบัญญัติ ทัศนียะเวช
ที่ปรึกษา
10
นายสุวัฒน์ ทองธนากุล ที่ปรึกษา

——————————————————————————————————-
คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมัยที่ 6 

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
ตำแหน่ง
1
นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ
กรรมการประเภทที่ 1
ประธาน
2
นายสุนทร จันทร์รังสี
กรรมการประเภทที่ 1
รองประธานคนที่ 1
3
นายสัก กอแสงเรือง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
รองประธานคนที่ 2
4
นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร
กรรมการประเภทที่ 2
เลขาธิการ
5
นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม
กรรมการประเภทที่ 2
รองเลขาธิการ
6
นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง
กรรมการประเภทที่ 2
เหรัญญิก
7
นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์
กรรมการประเภทที่ 1
8
นายสมนึก กยาวัฒนกิจ
กรรมการประเภทที่ 1
9
นายบรรหาร บุญเขต
กรรมการประเภทที่ 1
10
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล
กรรมการประเภทที่ 2
11
นายสมาน สุดโต
กรรมการประเภทที่ 2
12
นายจักรกฤชณ์ แววคล้ายหง
กรรมการประเภทที่ 3
13
นายธีรวัฒน์ ธรรมสกุล
กรรมการประเภทที่ 3
14
นายสวิชย์ บำรุงสุข
กรรมการประเภทที่ 3
15
นายผดุงศักดิ์ ลิ้มเจริญ
กรรมการประเภทที่ 3
16
นายทองใบ  ทองเปาด์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
17
นางยุวดี ธัญญศิริ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
18
รศ.จุมพล รอดคำดี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
19
นายวิทิต ลีนุตพงษ์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
20
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
21
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1
นายมนตรี ชนกนำชัย ที่ปรึกษา
2
นายสมาน สุดโต ประธาน
3
นายพรชัย ปุณณวัฒนาพร เลขานุการ อนุกรรมการ
4
นายจิระพงค์ เต็มเปี่ยม ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ
5 นางสาวเจียมจิตต์ แซ่อึ่ง อนุกรรมการ
6
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อนุกรรมการ
7
นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อนุกรรมการ
8
นายสุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์ อนุกรรมกา

——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการพิจารณารับเรื่องราวร้องทุกข์

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1
นายสัก กอแสงเรือง ประธาน
2
นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง รองประธานคนที่ 1
3
นายธนดล มีถม รองประธานคนที่ 2
4
นายชาย ปถะคามินทร์ เลขานุการ อนุกรรมการ
5
นายมนตรี ชนกนำชัย ผู้ช่วยเลขานุการอนุกรรมการ
6
นายบรรหาร บุญเขต อนุกรรมการ
7
นายธีรวัฒน์ ธรรมสกุล อนุกรรมการ
8
รศ. จุมพล รอดคำดี อนุกรรมการ
9
นายสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ อนุกรรมการ
10
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ อนุกรรมการ
11 นายศิริ อาบทิพย์ อนุกรรมการ
12 นายศักดิฺ์สิทธิ์ วิบูลย์ศิลป์โสภณ อนุกรรมการ
13 นายเกรียงไกร พิทักษ์ชัชวาล อนุกรรมกา

——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมจริยธรรม

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1 นายทองใบ ทองเปาด์ ที่ปรึกษา
2 รศ.มาลี บุญศิริพันธ์ ที่ปรึกษา
3 นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ที่ปรึกษา
4 นายสุนทร จันทร์รังสี ประธาน
5 นางสาวเนาวรัตน์ สุขสำราญ เลขานุการ อนุกรรมการ
6 นายอนุรักษ์ รชนิรมณ์ ผู้ช่วยเลขานุการ อนุกรรมการ
7 นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง อนุกรรมการ
8 ผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ อนุกรรมการ
9 นายผดุงศักดิ์ ลิ้มเจริญ อนุกรรมการ
10 ผศ.รุจน์ โกมลบุตร อนุกรรมการ
11 นายก่อเขต จันทรเลิศลักษณ์ อนุกรรมการ
12 นายสุรินทร์ ชัยวีระไทย อนุกรรมการ
13 นายสมศักดิ์ ถนัดช่าง อนุกรรมการ
14 นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล อนุกรรมการ
15 นายมงคล บางประภา อนุกรรมกา

——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1 นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ที่ปรึกษา
2 รศ.จุมพล รอดคำดี ประธาน
3 นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล อนุกรรมการ
4 นายจักรกฤษณ์ แววคล้ายหงส์ อนุกรรมการ
5 ดร.พีระ จิระโสภณ อนุกรรมการ
6 ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ อนุกรรมการ
7 ผศ.รุจน์ โกมลบุตร อนุกรรมการ
8 ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตรณะนันท์ อนุกรรมการ
9 นางสาวเย็นจิตร์ สถิรมงคงสุข อนุกรรมการ


——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายกิจการต่างประเทศ

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1 นายเกียรติชัย พงษ์พานิชย์ ประธาน
2 นายวิทิต ลีนุตพงษ์ อนุกรรมการ
3 นายจักรกฤษณ์ แววคล้ายหงษ์ อนุกรรมการ
4 นายสมนึก กยาวัฒนกิจ อนุกรรมการ
5 นางสาวเบญจวรรณ เอกนิยม อนุกรรมการ
6 นายชวรงค์ ลิมป์ปัืทมปาณี อนุกรรมการ
7 นางสาวบุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์ อนุกรรมการ
8 นางกุลชาดา ชัยพิพัฒน์ อนุกรรมการ
9 ดร.สวราช สัจมาร์ค อนุกรรมการ


——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายติดตามความเคลื่อนไหว
ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพสื่อ

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1 นางยุวดี ธัญญสิริ ประธาน
2 นางสาวดวงกมล โชตะนา เลขานุการ
3 นายตุลย์ ศิริกุลพิิพัฒน์ อนุกรรมการ
4 นายบุญเลิศ คชายุทธเดช อนุกรรมการ
5 นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อนุกรรมการ
6 นายสุทิน บรมเจต อนุกรรมการ
7 นายก่อเขต จันทร์เลิศลักษณ์ อนุกรรมการ
8 ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูตรณะนันท์ อนุกรรมการ
9 ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ อนุกรรมการ
10 นายวีรศักดิ์ พงษ์อักษร อนุกรรมการ

——————————————————————————————————
คณะอนุกรรมการฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์

ลำดับ
ชื่อ-นามสกุล
ประเภท
1 ดำฤทธิ์ วิริยะกุล ที่ปรึกษา
2 อรุณ ลอตระกูล ที่ปรึกษา
3 สวิชย์ บำรุงสุข ประธาน
4 บุตรดา ศรีเลิศชัย รองประธาน
5 สุวัฒน์ สุขสัมฤทธิ์ เลขานุการ อนุกรรมการ
6 รัชฎา ปสันตา อนุกรรมการ
7 อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ อนุกรรมการ
8 จิตติพันธ์ อิศวพิพัฒน์ อนุกรรมการ
9 โชติมา พรหมมิ อนุกรรมการ
10 สราวุฒิ แซ่เตี๋ยว อนุกรรมการ
11 ฐิติชัย อัฏฏะวัชระ อนุกรรมการ

[/wptab]

[wptab name=’สัมภาษณ์อาจารย์สุนิสา ประวิชัย’]

สัมภาษณ์อาจารย์สุนิสา ประวิชัย

มุมมองข้อกล่าวหา
ข่าวอาชญากรรมเป็นเหตุ ลอกแบบก่ออาชญากรรม

ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลายบริษัทต้องปิดตัวลง ประชาชนตกงานหลายแสนคน กระทั่งบัณฑิตจบใหม่ยังไม่มีงานทำอีกเป็นจำนวนมาก การก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ทวีปริมาณและระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น ปรากฎชัดตามรายงานของสื่อต่างๆ เป็นเหตุซ้ำซากและต่อเนื่องเสมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ ทำให้หลายคนมองว่า สื่อเองมีส่วนในการซ้ำเติมให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น เกิดการลอกเลียนแบบการก่ออาชญากรรมจากข่าวที่สื่อนำเสนอ ผิดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารมวลชน ที่ต้องการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้ดีขึ้น

อาจารย์สุนิสา ประวิชัย อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีมุมมอง ว่าสื่อมวลชนจะต้องนำเสนอข่าวความรุนแรง หรือข่าวอาชญากรรมอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด ในรายการวิทยุ “รู้ทันสื่อกับสภาการหนังสือพิมพ์ฯ” ซึ่งออกอากาศเมื่อวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมา

มองการเสนอข่าวอาชญากรรมในปัจจุบันอย่างไร

ถ้าถามว่าทุกวันนี้ การนำเสนอข่าวอาชญากรรมทางสื่อมวลชน นำเสนอด้วยความรุนแรงจริงหรือไม่ รุนแรงเกินเหตุไปหรือไม่ และสื่อให้ความสำคัญหรือพื้นที่กับข่าวอาชญากรรมมากเกินไปหรือเปล่า โดยความเห็นส่วนตัวและจากผลการสำรวจ ที่ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำไว้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเห็นว่าสื่อให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมค่อนข้างมาก ทั้งการให้พื้นที่ โดยเฉพาะหน้าหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกฉบับ แต่ถ้าลองสำรวจดูจะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นอย่างที่ถูกกล่าวหาจริง

หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ใช่ เนื้อในอาจไม่ใช่มากนัก โทรทัศน์ก็มีเกือบทุกช่องเหมือนกัน ที่ระยะก่อนไม่หนักเท่าปัจจุบันนี้ แต่ทุกวันนี้จะเห็นว่าการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของโทรทัศน์มีการให้รายละเอียดค่อนข้างมาก และนำเสนอซ้ำๆ หนังสือพิมพ์นำเสนอรอบเดียว แต่โทรทัศน์มีการเสนอข่าวหลายช่วง  แต่ละช่วงจะมีการนำเสนอภาพ เช่น ถ้ามีโทรทัศน์วงจรปิด จะเห็นขั้นเห็นตอนของการกระทำตั้งแต่เดินเข้าหาเหยื่อ เหนี่ยวไก และเหยื่อล้มลงขาดใจตาย นำเสนอวันหนึ่งหลายรอบ เห็นภาพแล้วรู้สึกว่ารุนแรงเกินไป ใครที่ได้ดูโทรทัศน์ในวันหยุดทั้งวัน จะรู้สึกได้ว่าข่าวตั้งแต่เช้าจนเย็น เรื่องๆ เดิมจะถูกนำมาฉายซ้ำหลายรอบมาก

ตรงนี้สอดคล้องกับผลสำรวจของกรุงเทพโพลล์ ที่ได้ทำร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2551 พบว่า ประชาชนมองเห็นว่า เนื้อหาของข่าวที่ต้องการให้หนังสือพิมพ์นำเสนอให้น้อยลง อันดับแรก คือข่าวและภาพข่าวอาชญากรรม ข่าวความรุนแรง ข่าวข่มขืน อันนี้มีผู้อ่านถึงร้อยละ 34.2 ที่เห็นว่าควรนำเสนอให้น้อยลงเป็นลำดับ อันนี้คือผู้อ่านทั่วไป

เมื่อพิจารณาผู้อ่านที่บอกว่าเป็นผู้อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน ร้อยละเพิ่มขึ้นเป็นถึง 41.5 แปลว่าผู้ที่อ่านประจำยิ่งเห็นด้วยมากขึ้นว่า ควรลดการนำเสนอข่าวในเรื่องของข่าวอาชญากรรม ทั้งเนื้อหาและภาพให้มากกว่านี้

ส่วนเนื้อหาที่ต้องการให้นำเสนอมากขึ้น เป็นเรื่องของข่าวเจาะลึกทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การลงทุน ข่าววิทยาศาสตร์ หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่เป็นการค้นพบใหม่ๆ มากกว่า ซึ่งออกในแนวที่ไม่ใช่แนวของข่าวอาชญากรรม

ในเรื่องของความรุนแรงที่พูดถึง ลักษณะของความรุนแรงที่นำเสนอทางสื่อ มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ภาพ อันนี้จะก่อหรือกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกได้ทันที ถ้าเสนอในหนังสือพิมพ์จะเป็นภาพที่เห็นเลือดแดงโดยแทบจะไม่พรางเลย ซึ่งในสมัยก่อนจะทำเป็นเบลอ หรือดำๆ บ้าง หรือถ้าเป็นโทรทัศน์ก็จะเห็นทุกขั้นทุกตอน ล่าสุด กรณีศพชาวต่างชาติ ที่บอกว่ามีศีรษะห้อยอยู่ใต้สะพานพระราม 8 หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอ และนำเสนอแบบไม่พราง และโคลสอัพไปใกล้ๆ เห็นกระทั่งแววตาของศพ ซึ่งเป็นเหมือนการฆาตกรรมซ้ำซ้อนอีกรอบหนึ่ง มันรุนแรงเกินไป จนดูแล้วกระทบกับจิตใจของผู้อ่าน ผู้ชม ค่อนข้างมาก

ส่วนที่สอง คือ ส่วนเนื้อข่าว จะมี 2 ส่วนเหมือนกันที่สะท้อนถึงความรุนแรง ทั้งการใช้ถ้อยคำ เช่น ข่าวอาชญากรรมเราจะคุ้นกับคำว่า กระซวก แทงยับ รัวไม่ยั้ง อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหมือนการนำเสนอภาพยนตร์แอ็คชั่น หนังฝรั่งประเภทเลือดท่วมจอ สิ่งที่น่ากลัวคือผู้อ่านหรือผู้ที่ชมอยู่รู้ว่านี่คือเรื่องจริง ต่างจากภาพยนตร์หรือการดูการ์ตูน หรือแม้แต่บอกว่าเด็กเล่นเกม เกมรุนแรงแต่นั่นเด็กก็ยังรู้ว่าคือเกม แต่อันนี้คนรู้ว่ามันคือเรื่องจริง  ไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นการรับรู้จะรุนแรงมากกว่ากัน

อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของการใช้คำบรรยาย จะพรรณนารายละเอียดขั้นตอนชัดเจน จนถ้าเป็นวัยรุ่นหรือคนที่มีแนวโน้มจะกระทำตามก็จะรู้สึกว่าทำตามได้ไม่ยาก หรือบางครั้งสื่ออาจจะไม่ได้ตั้งใจนำเสนอ กรณีข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงภาคใต้ บางครั้งนำเสนอจนรู้สึกว่าโจรใต้เป็นพระเอก ที่สามารถฆ่าตำรวจและทหารได้ อันนี้ต้องระวังเหมือนกัน

การที่สื่อบรรยายข้อมูลลึกมาเกินไปบางครั้งอาจเป็นการชี้นำหรือการลอกเลียนแบบได้หรือไม่ หรือทำให้กลุ่มคนมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนได้

มีการถกกันค่อนข้างมากว่า การนำเสนอของสื่อเป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหาความรุนแรงหรืออาชญากรรมหรือเปล่า ในมุมมองส่วนตัวคิดว่า จะโทษสื่อเพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่ เพราะต้นเหตุของอาชญากรรมหรือความรุนแรงก็มีที่มาหรือปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งอาจจะแบ่งได้  3 ลักษณะ ชัดๆ ว่า

ข้อแรกอาจเป็นเรื่องการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวหรือวัฒนธรรมของครอบครัว  ว่าการเลี้ยงดู การบ่มเพาะของพ่อแม่อาจจะเป็นทำให้เด็กนิยมความรุนแรงโดยไม่ตั้งใจ  เช่น พ่อแม่ใช้วิธีการลงโทษลูกด้วยวิธีรุนแรง ก็จะทำให้เด็กมีพื้นฐานก้าวร้าว และแก้ปัญหาด้วยวิธีการรุนแรง  หรือไม่มีการพูดคุยหรือสอนสั่ง ซึ่งจะทำให้เด็กยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในการแก้ปัญหาต่อไป

อีกส่วนหนึ่งการก่ออาชญากรรมก็มีต้นเหตุหรือที่มาเหมือนกันนั้น เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สังคมเราเองเป็นสังคมบริโภคนิยม ก็มีส่วนหล่อหลอมให้คนฟุ้งเฟ้อและยึดวัตถุ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน หรือแม้ผู้ใหญ่บางคนหาช่องทางในการจะหาเงิน  เช่น พวกที่มีปัญหาการพนันบอล  ติดยาบ้า  ติดเกม  หาช่องทาง แต่การนำเสนอข่าวอาชญากรรมแบบละเอียดแบบนี้ ก็จะไปช่วยกระตุ้นส่งเสริมชี้ช่องทางให้ แต่ต้นเหตุจริงๆ อาจจะไม่ได้มาจากการนำเสนอข่าว   แต่เขามีปัจจัยของเขาอยู่แล้ว

อีกประเด็นหนึ่งที่เราชอบพูดถึงคือ การลอกเลียนแบบจากสื่อ  ซึ่งจะเห็นกันว่าตรงนี้ถามว่ามีผลไหม   ก็มีผลทั้งสองส่วน   อันแรกคือเรื่องของการซึมซับของความรุนแรง   จะทำให้เห็นว่าการฆ่ากันหรือการยิง แทงเลือดท่วมจอนั้นก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติทุกวัน  วันหนึ่งมีตั้งหลายรายด้วยซ้ำไป แล้วนำเสนอเป็นเรื่องที่นำเสนอโดยทั่วไปไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ และไม่ได้เป็นเรื่องที่ไปฮือฮาหรือให้ความสนใจ  ในขณะเดี๋ยวกัน การนำเสนอแบบนี้ก็เท่ากับไปให้ข้อมูลพื้นฐานหรือเบื้องต้นให้กับคนที่จะทำอยู่แล้วสามารถที่จะต่อยอดได้เลย  ถ้ามองว่าสื่อมีผลด้วยไหม ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีผล แต่ก็ไม่ใช่ต้นเหตุทั้งหมดของปัญหานี้

ถ้าเราตัดปัญหาเหล่านี้ออก วันนี้สื่อรายงานน้อยลงเบาลง หรือไม่นำเสนอข่าวประเภทนี้เลย  อาจารย์จะมองว่าสื่อทำถูกต้องหรือไม่

ในมุมมองการทำข่าว สื่อก็ยังให้ความสำคัญกับข่าวอาชญากรรมอยู่  เพราะเราก็มองว่าเป็นประเด็นที่สำคัญในสังคมเหมือนกัน  ถ้าเกิดอาชญากรรมเยอะ ๆ  แล้วสื่อไม่ให้ความสนใจ สังคมไม่ให้ความสนใจ  ก็จะเป็นปัญหาเหมือนกัน  แต่มีวิธีการที่ให้ความสำคัญได้โดยไม่จำเป็นต้องต้องนำเสนอในเชิงรุนแรง หรือนำเสนอภาพในเชิงสยดสยอง  แต่อาจจะใช้วิธีการรายงานในตัวเหตุการณ์ให้สั้นลงไม่ต้องบรรยายรายละเอียดมาก  หรืออาจจะมีการไปสัมภาษณ์  หรือถ้ามีเด็กไปก่อคดีอาชญากรรม เมื่อปีที่ผ่านมามีเด็ก ม. 6 ก่อคดีไปล่อล่วงแท็กซี่ไปฆ่าชิงทรัพย์  และก็บอกว่าเลียนแบบมาจากเกมคอมพิวเตอร์  หรือเด็กผู้ชายบางคนไปก่อคดีทางเพศแล้วบอกว่าเลียนแบบมาจากวีดีโอ  แต่การทำหน้าที่ของสื่ออาจจะไม่จบแค่การรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  แต่สามารถไปสัมภาษณ์นักจิตวิทยาหรือนักจิตเวทว่าต้นเหตุเป็นอย่างนี้ เกิดมาจากอะไร และสังคมควรช่วยกันแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง  จะทำให้ข่าวนี้มีคุณค่าและมีประโยชน์กับทุกๆ  ฝ่าย  ไม่ใช่การนำเสนอให้เห็นว่าท้ายที่สุดแล้วเป็นเพียงการก่อคดีเท่านั้น

หรือหากบอกในแง่กฎหมายว่า การทำความผิดอย่างนี้ต้องรับโทษอย่างไร เพื่อให้คนอ่านข่าวได้ตระหนักถึงบทลงโทษ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรนำมาสอดแทรก

ใช่ คือมันก็มีหลักของมันในแง่ของการทำข่าวว่า การทำข่าวที่ดีต้องเป็นข่าวที่เจาะลึก แต่เราตีความคำว่า “เจาะลึก” อย่างไร หากเราตีความว่า การเจาะลึกคือการบรรยายรายละเอียดของเหตุการณ์ หรือการกระทำมันก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่คำว่า “เจาะลึก” ในที่นี้ต้องเจาะลึกตรงไหน มันถึงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมมากที่สุด

สมมติว่าเป็นข่าวอาชญากรรมกรณีฆ่าชิงมรดกกัน สามารถเป็นข่าวเจาะได้ สมมติว่า ข่าววันที่ 1 ผ่านไป วันที่ 2 มาสัมภาษณ์บุคคล สภาพแวดล้อม ถึงความคืบหน้า หรือมูลเหตุในการฆ่าชิงมรดกกัน อย่างนี้ใช่หรือไม่ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และนำเสนอความถูกต้องและนำเสนอความต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่ลึกเกินไป ทำให้บางครั้งทำให้รู้สึกว่าเป็นการทำให้รูปคดีเสียด้วย

บางอย่างเหมือนกับว่าเรารู้เท่าไหร่ก็ไปเปิดเผยหมด ส่วนตำรวจเองก็อยากแสดงผลงานของตัวเองเช่นเดียวกัน นักข่าวเองก็อยากรายงานว่า ตนเองก็สืบข่าวมาได้เหมือนกัน บางครั้งก็ไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของตัวเอง ดังนั้น จึงต้องกำหนดจุดยืนของตัวเองให้มากขึ้น ว่าอะไรคือบทบาทหน้าที่ของตัวเอง อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า คือต้องตีความคำว่า “ข่าวเจาะลึก” ให้ถูกต้องมากกว่านี้

อาจารย์มองว่าการทำข่าวเจาะลึกต้องมีลักษณะอย่างไร

เวลาที่เราอ่านข่าวหลาย ๆ เรื่องเราจะรู้สึกว่า เรื่องนี้เรายังติดใจอยู่ เรายังไม่รู้ว่าเรื่องนี้จบอย่างไร แล้วต้นเหตุที่แท้จริงเป็นมาอย่างไร เรารอแล้ว 2-3 วันข่าวนั้นก็เงียบหาย แต่กลับมีข่าวอื่นเกิดขึ้นมา ทั้งๆ ที่เรื่องเก่าเรายังไม่ได้รับคำตอบเลยว่า ท้ายที่สุดแล้วเรื่องจบลงอย่างไร ใครถูก ใครผิด ต้นเหตุมาจากอะไร แบบนี้สังคมจะได้ประโยชน์มากกว่าการนำเสนอข่าวใหม่ไปเรื่อยๆ คือลงรายละเอียดแต่ไม่ตามข่าว ไม่เจาะลึกให้ อันนี้สื่อต้องทำการบ้านให้มากขึ้น หนักขึ้น แต่ว่าถ้าจะทำให้เกิดผลจริงๆ จะต้องลงทุน

พูดไปแล้วเหมือนกับว่าเราไปลงที่สื่ออย่างเดียว แต่มุมมองของตนเองเห็นว่า ทางแก้ปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่สื่ออย่างเดียว ต้องมีหลายฝ่ายร่วมมือกัน แน่นอนสื่อเป็นปราการแรกที่ถูกจับตามมอง และคงต้องมี take action อะไรบางอย่างออกมา ในส่วนของสื่อนั้น อย่างแรกคือ เจ้าของสื่อหรือบรรณาธิการ สืบเนื่องกำหนดนโยบายการขายข่าวว่าจะขายข่าวแบบไหน ซึ่งแต่ละฉบับก็มีนโยบายเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือองค์กรที่ควบคุมดูแลสื่อด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นสภาการหนังสือพิมพ์ฯ สมาคมนักข่าววิทยุหรือโทรทัศน์ก็ตาม คงต้องออกมามีบทบาทมากขึ้น เพราะว่าจากผลสำรวจที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพทำนั้น ล่าสุดประชาชนยังให้ความไว้วางใจให้องค์กรสื่อควบคุมกันเอง ไม่ได้ไว้วางใจให้รัฐบาลมาควบคุมสื่อ แปลว่าเขายังเชื่อใจอยู่ เขาอาจจะมีแนวทาง เช่นการมอบรางวัลข่าว ภาพข่าวอาชญากรรม อาจจะต้องมารื้อเกณฑ์กันใหม่ว่าควรเป็นแบบไหน ถ้าเป็นภาพสยดสยองควรให้รางวัลหรือไม่ และไม่น่าจะพิจารณาเฉพาะที่ตัวภาพ  แต่ควรพิจารณาภาพรวมของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ด้วยซึ่งอาจจะต้องมีการเพิ่มเกณฑ์อะไรบางอย่างเข้ามา

[/wptab]

[wptab name=’ขออภัย’]

ขออภัย

ตามที่ ”จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ” ฉบับประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2552 มีข้อผิดพลาด ในย่อหน้าที่ 2 หน้า 12 ที่ระบุว่า…ยกเลิกพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2548 นั้น ที่ถูกต้องต้องเป็นพ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 จึงขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

ผู้จัดทำ

[/wptab]

[end_wptabset]